April 24 2024 19:44:21
เมนู
หน้าแรก
ใบคำร้องฯ
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๔
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๑
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี ประถม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี มัธยม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี อุดม
ทดสอบสอบความรู้จากข้อสอบธรรมศึกษา 2543-2562
eLearning ธรรมศึกษา
วีดิโอสอนธรรมศึกษา
ระเบียบการจัดสอบ ๒๕๖๐
กระดาษเขียนกระทู้ธรรม ธศ.
สมุดลงนามฯ (สมุดเยี่ยม)
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
บัญชีบรรจุใบตอบปรนัย
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ น.ธ.
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ ธ.ศ.
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน (แบบใหม่ ๒๕๖๑)
วิธีระบายเลขที่สอบ (ธรรมศึกษา)
นักธรรม (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
นักธรรม (ฟอร์มขอแก้ไข)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มขอแก้ไข)
ดาวน์โหลด
ปัญหา-เฉลย นักธรรม ๖๔
ปัญหา-เฉลย น.ธ.-ธ.ศ. ๖๕
สถิติสอบธรรม ๒๕๖๒
อันดับสำนักเรียนสอบได้มาก

ประวัตินักธรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทำเนียบแม่กองธรรม
ทำเนียบผู้บริหารปัจจุบัน
แม่กองธรรมสนามหลวง
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
หนังสือประกอบหลักสูตร
ปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษา
ระเบียบปฏิบัติทั่วไป
กฏกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๘

การขอใบรับรอง

ห้องแสดงภาพ
ห้องสนทนา
บทความ
เว็บลิงค์
คำถามยอดนิยม
ค้นหา

ส่งบทความ
ปฏิทินกิจกรรม

วิดีโอแกลอรี่
เพิ่มวิดีโอ
วีดีทัศน์เกี่ยวกับสอบธรรม 2553
ผู้มีสิทธิสอบ
ฝ่ายธุรการ
รายชื่อรัฐของสหรัฐอเมริกา
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
ติดต่อสำนักเรียน
ทั่วประเทศ
ส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค (ม)
ส่วนภูมิภาค (ธ)

เจ้าคณะตำบล-อำเภอ-จังหวัด
วัดทั่วประเทศ
สถานศึกษาทั่วประเทศ

สนามสอบทั่วประเทศ
สนามสอบนักธรรม ส่วนกลาง
ระเบียบปฏิบัติ
MOU ธรรมศึกษา
คำปราศรัยฯ น.ธ.ตรี
คำปราศรัยฯ น.ธ.โท-เอก
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ

ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน
คำอธิบายการฝนใบคำตอบ

ระเบียบการจัดสอบ
กำหนดวันสอบ ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนภูมิภาค ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ภาคผนวก ๒๕๖๖
เล่มสนามสอบ สมัยที่ ๒

วิธีการตรวจข้อสอบนักธรรม
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
สนามหลวง แผนกบาลี
ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย
ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงวัฒนธรรม
กรมการศาสนา
หัวข้อแนะนำ
พระมหาสมณเจ้าฯ

งานฉลอง ๙๗ พระชันษา

ดูสถิติการเข้าชมเว็บของคุณ
Youtube Gallery
   วิดีโอทั้งหมด (11)
   พระประวัติ และ ประวัติ (3)
   การศึกษาของสงฆ์ไทย (1)
   พิธีเปิดสอบธรรม พ.ศ. 2553 (0)
   คู่มือ-เทคนิค-วิธีการ (7)
วิดีโอล่าสุด
video

video

สนง.พระพุทธศาสนาฯ



ชวนเพื่อนมาชมเว็บนี้

อีเมล์คุณ:
ส่งถึงเพื่อน:
คัดลอกสำเนา?
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เนื่องจากมีผู้ถามว่า สมเด็จพระสังฆราชที่เป็นเจ้าในพระบรมวงศ์ นั้น มีกี่พระองค์ และเพราะอะไรบางพระองค์จึงเรียกว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ

สมเด็จพระสังฆราชที่ทรงเป็นเจ้านั้น ออกพระนามกันว่า 'สมเด็จพระสังฆราชเจ้า' ส่วนสมเด็จพระสังฆราชที่ทรงเป็นสามัญชน ออกพระนามว่า 'สมเด็จพระสังฆราช'



สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เมื่อยังทรงเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ ในรัชกาลที่ ๕


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ในกรุงรัตนโกสินทร์ มี ๕ พระองค์ คือ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๗ ที่ ๘ ที่ ๑๐ ที่ ๑๑ และองค์ที่ ๑๓

สามพระองค์แรก เมื่อประสูติเป็นพระองค์เจ้าชั้นพระเจ้าลูกยาเธอ จึงทรงได้รับถวาย 'มหาสมณุตตมาภิเษก เป็น 'สมเด็จพระมหาสมณเจ้า' และถวายเศวตฉัตร ๕ ชั้น สูงกว่า สมเด็จพระสังฆราชทั่วไปซึ่งทรงแต่ฉัตร ๓ ชั้น

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ๓ พระองค์ คือ

๑. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี พระราชโอรสองค์ที่ ๒๘ ในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งพระนิพนธ์กวีนิพนธ์เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่ายของพระองค์ เป็นที่รู้จักกันอย่างดียิ่ง

ทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช ระหว่าง พ.ศ.๒๓๙๔-๒๓๙๖ เพียง ๓ ปี

๒. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๘

พระนามเดิม พระองค์เจ้าฤกษ์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๑๘ ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ากรม พระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ (วังหน้าในรัชกาลที่ ๒) พระนามของพระองค์เป็นที่รู้จักกันดีในวงการพระเครื่องด้วยพระองค์เป็นผู้สร้าง 'พระกริ่งปวเรศ' ที่ลือชื่อว่าเป็นพระกริ่งชั้นยอด ทรงสร้างเป็นจำนวนจำกัด

ทรงดำรงสมเด็จพระสังฆราชระหว่าง พ.ศ.๒๓๙๖-๒๔๓๕

๓. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐

พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔๗ ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ระหว่าง พ.ศ.๒๔๔๒-๒๔๖๔

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เจ้านายในพระบรมวงศ์ อีก ๒ พระองค์ คือ

๑. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรศิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๑

พระนามเดิม หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ (พระองค์เจ้าชมพูนุท พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๓)


สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์ที่ ๔ นับจากพระองค์ใหญ่) ทรงฉายพระรูปกับเจ้าพี่เจ้าน้อง เมื่อทรงพระเยาว์ นับจากพระองค์ใหญ่ เรียงลงไป
๑. พระองค์เจ้า (หญิง) ยิ่งเยาวลักษณ์อัครราชกุมารี
๒. พระองค์เจ้า (หญิง) พักตร์พิมลพรรณ
๓. พระองค์เจ้า (ชาย) เกษมสันต์โสภาคย์ (กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์)
๔. สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
๕. พระองค์เจ้า (หญิง) บัญจบเบญจมา


พระองค์ประสูติปีเดียวกันกับ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แต่ทรงเยาว์ชันษากว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ๙ เดือน

ระหว่างทรงผนวช ในรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศเป็นพระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรต

ในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯให้ทรงกรมเป็น พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรศิริวัฒน์ ขณะนั้นทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่หนกลาง

พ.ศ.๒๔๖๔ ในรัชกาลที่ ๖ นั้น เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวชิรโรรสสิ้นพระชนม์ จึงโปรดเกล้าฯ สถาปนา พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรศิริวัฒน์ ขึ้นเป็น

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรศิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า

ทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช ระหว่าง พ.ศ.๒๓๖๔-๒๔๘๐

หมายเหตุ พระนามท้าย 'ศิริวัฒน์' สะกดตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ ซึ่งขณะพระองค์สิ้นพระชนม์ พ.ศ.๒๔๘๐ รัฐบาลประชาธิปไตยในเวลานั้นยังไม่ทันได้เปลี่ยนแปลงตัวอักษรภาษาไทย (ให้ตัดอักษร ศ และ ษ ทิ้งเหลือเพียง ส ตัวเดียว) พระนามท้ายของพระองค์จึงมิได้ต้องพลอยเปลี่ยนเป็น 'สิริวัฒน์'


๒. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๓

เดิมทรงมีศักดิ์เป็น หม่อมราชวงศ์ พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ โอรสของหม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์

หม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์ เป็นโอรสของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ (พระองค์เจ้านพวงศ์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ประสูติตั้งแต่ก่อนสมเด็จพระบรมชนกนาถทรงผนวช)

ก่อนทรงได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติกนิกาย

พ.ศ. ๒๔๘๘ ในรัชกาลที่ ๘ ทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์สกลมหาสังฆปรินายก

พ.ศ.๒๔๘๙ ในรัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามสมเด็จพระสังฆราชเจ้า จารึกพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์



สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อทรงผนวชเป็นพระองค์เจ้าพระ ในรัชกาลที่ ๕


ทรงเป็นพระราชอุปัชฒาจารย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงผนวช วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๙

ทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช ระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๘-๒๕๐๑

มีข้อสังเกตอันค่อนข้างประหลาดอยู่ว่าเจ้านายในพระบรมวงศ์ ที่ทรงผนวช และทรงได้รับตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช นั้น ๓ พระองค์ ต่างก็ทรงมีพระนามที่แปลว่า 'นาค' คือ พระองค์เจ้าวาสุกรี พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ (พระองค์นี้ทรงพระนามว่า นาค ตรงๆเลยทีเดียว) และหม่อมเจ้าภุชงค์

สำหรับ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส นั้น ทรงเล่าไว้ในเรื่อง "พระประวัติตรัสเล่า" ซึ่งทรงลิขิตเองไว้เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘

ทรงเล่าถึงเมื่อพระองค์ประสูติว่า

"ได้ฟังผู้ใหญ่เล่าว่าพอเราประสุตแล้ว อากาศที่กำลังสว่าง มีเมฆตั้ง ฝนตกใหญ่ จนน้ำฝนขังนองชาลาตำหนัก ทูนกระหม่อมของเรา ทรงถือเอานิมิตต์นั้น ว่าแม้นกับคราวที่พระพุทธเจ้าเสดจประทับณะควงไม้ราชายตนพฤกษ์ ฝนตกทั้งสิ้นเจ็ดวัน มุจลินทนาคราช เอาขนดกายเวียนพระองค์ และแผ่พังพานเหนือพระเศียรเพื่อมิให้ฝนตกถูกพระองค์ ครั้นฝนหายแล้ว จึงคลายขนดจำแลงกายเป็นมาณพหนุ่มเข้ามายืนเฝ้าเฉพาะพระพักตร์ จึงพระราชทานนามเราว่า 'มนุษยนาคมานพ' "
(ตัวสะกดการันต์คัดตามต้นฉบับ)

เรื่อง "พระประวัติตรัสเล่า" นี้ ทรงเล่าเรื่องราวส่วนพระองค์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ จนกระทั่งทรงผนวช และทรงได้รับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช



สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เมื่อทรงโสกันต์แล้ว ทรงฉลองพระองค์อย่างฝรั่งตามที่นิยมอยู่ในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕


ที่ทรงลิขิตไว้นั้น นอกจากเป็นความรู้ต่างๆ ทั้งทางโลกทางธรรมแล้ว ตลอดจนเรื่องราวบางเรื่องของเจ้านายแล้ว ตอนที่ประทับใจที่สุดเป็นตอนที่พระองค์ท่านทรงตัดสินพระทัยว่า จะทรงผนวชไม่สึก ด้วยเหตุผลดังที่ทรงเล่าไว้ดังนี้

"ถึงน่าเข้าพรรษา ล้นเกล้าฯ (คือพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง-จุลลดาฯ) เสดจถวายพุ่มที่วัดนี้ ตามเคยเสดจทรงประเคนพุ่มพระเจ้าน้องยาเธอ ผู้ทรงผนวชใหม่ถึงตำหนักอันเป็นการทรงเยือนด้วย เสดจกุฎีเราทรงประเคนพุ่ม เราเห็นท่านทรงกราบด้วยเคารพอย่างเปนพระ แปลกจากพระอาการที่ทรงแสดงแก่พระภิกษุองค์อื่นเพียงทรงประคองอัญชลี (พนมมือไหว้-จุลลดาฯ) เรานึกสลดใจว่า โดยฐานเปนพระเจ้าแผ่นดิน ท่านก็เปนเจ้าของเรา โดยฐานเนื่องในพระราชวงศ์เดียวกัน ท่านก็เปนพระเชษฐาของเรา โดยฐานเปนผู้แนะราชการพระราชทาน ท่านก็เป็นครูของเรา เหนท่านทรงกราบ แม้จะนึกว่าท่านทรงแสดงเคารพแก่ธงชัยพระอรหัตต่างหาก ก็ยังวางใจไม่ลง ไม่ปรารถนาจะให้เสียความวางพระราชหฤทัยของท่าน ไม่ปรารถนาจะให้ท่านทอดพระเนตรเหนเรา ผู้ที่ท่านทรงกราบแล้วถือเพศเปนคฤหัสถ์อีก ตรงคำที่เขาพูดกันว่า กลัวจัญไรกิน เราจึงตกลงใจว่าจะไม่สึกในเวลานั้น แต่หาได้ทูลท่านไม่ฯ

อ้างอิง : บทความ-สารคดี โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์ นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2752 ปีที่ 53 ประจำวัน อังคาร ที่ 17 กรกฎาคม 2550
ร่วมพูดคุย
ยังไม่มีใครคอมเมนท์.
แสดงความเห็น
กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความเห็น.
คะแนน
สามารถให้คะแนนได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น.

โปรดเข้าสู่ระบบก่อนการให้คะแนน.

ยังไม่มีการให้คะแนน.
แสดงผลในเวลา: 0.01 วินาที 119,728,886 ผู้เยี่ยมชม