March 29 2024 22:14:37
เมนู
หน้าแรก
ใบคำร้องฯ
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๔
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๑
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี ประถม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี มัธยม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี อุดม
ทดสอบสอบความรู้จากข้อสอบธรรมศึกษา 2543-2562
eLearning ธรรมศึกษา
วีดิโอสอนธรรมศึกษา
ระเบียบการจัดสอบ ๒๕๖๐
กระดาษเขียนกระทู้ธรรม ธศ.
สมุดลงนามฯ (สมุดเยี่ยม)
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
บัญชีบรรจุใบตอบปรนัย
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ น.ธ.
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ ธ.ศ.
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน (แบบใหม่ ๒๕๖๑)
วิธีระบายเลขที่สอบ (ธรรมศึกษา)
นักธรรม (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
นักธรรม (ฟอร์มขอแก้ไข)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มขอแก้ไข)
ดาวน์โหลด
ปัญหา-เฉลย นักธรรม ๖๔
ปัญหา-เฉลย น.ธ.-ธ.ศ. ๖๕
สถิติสอบธรรม ๒๕๖๒
อันดับสำนักเรียนสอบได้มาก

ประวัตินักธรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทำเนียบแม่กองธรรม
ทำเนียบผู้บริหารปัจจุบัน
แม่กองธรรมสนามหลวง
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
หนังสือประกอบหลักสูตร
ปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษา
ระเบียบปฏิบัติทั่วไป
กฏกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๘

การขอใบรับรอง

ห้องแสดงภาพ
ห้องสนทนา
บทความ
เว็บลิงค์
คำถามยอดนิยม
ค้นหา

ส่งบทความ
ปฏิทินกิจกรรม

วิดีโอแกลอรี่
เพิ่มวิดีโอ
วีดีทัศน์เกี่ยวกับสอบธรรม 2553
ผู้มีสิทธิสอบ
ฝ่ายธุรการ
รายชื่อรัฐของสหรัฐอเมริกา
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
ติดต่อสำนักเรียน
ทั่วประเทศ
ส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค (ม)
ส่วนภูมิภาค (ธ)

เจ้าคณะตำบล-อำเภอ-จังหวัด
วัดทั่วประเทศ
สถานศึกษาทั่วประเทศ

สนามสอบทั่วประเทศ
สนามสอบนักธรรม ส่วนกลาง
ระเบียบปฏิบัติ
MOU ธรรมศึกษา
คำปราศรัยฯ น.ธ.ตรี
คำปราศรัยฯ น.ธ.โท-เอก
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ

ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน
คำอธิบายการฝนใบคำตอบ

ระเบียบการจัดสอบ
กำหนดวันสอบ ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนภูมิภาค ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ภาคผนวก ๒๕๖๖
เล่มสนามสอบ สมัยที่ ๒

วิธีการตรวจข้อสอบนักธรรม
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
สนามหลวง แผนกบาลี
ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย
ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงวัฒนธรรม
กรมการศาสนา
หัวข้อแนะนำ
พระมหาสมณเจ้าฯ

งานฉลอง ๙๗ พระชันษา

ดูสถิติการเข้าชมเว็บของคุณ
Youtube Gallery
   วิดีโอทั้งหมด (11)
   พระประวัติ และ ประวัติ (3)
   การศึกษาของสงฆ์ไทย (1)
   พิธีเปิดสอบธรรม พ.ศ. 2553 (0)
   คู่มือ-เทคนิค-วิธีการ (7)
วิดีโอล่าสุด
video

video

สนง.พระพุทธศาสนาฯ



ชวนเพื่อนมาชมเว็บนี้

อีเมล์คุณ:
ส่งถึงเพื่อน:
คัดลอกสำเนา?
หมอชีวกโกมารภัจจ์ (ตอนที่ 3) รักษาริดสีดวงทวาร
หมอชีวกโกมารภัจจ์ (ตอนที่ 3) รักษาริดสีดวงทวาร

คราวหนึ่งพระเจ้าพิมพิสาร ทรงประชวรเป็นริดสีดวงทวาร พระโลหิตไหลออกมาเปื้อนพระภูษาอยู่เป็นประจำ เวลาเสด็จไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจหรือเสด็จออกราชการในที่ใดๆ พระโลหิตก็จะเปื้อนพระภูษาอยู่อย่างนั้น จนบรรดาสนมน้อยใหญ่ทั้งหลายพากันแอบกระซิบกระซาบอย่างสนุกสนานว่า เวลานี้พระเจ้าแผ่นดิน ทรงมีระดู สงสัยทรงมีต่อมพระโลหิตเหมือนกับพวกเรา อีกไม่นาน คงจะมีพระประสูติกาลเป็นแน่

เสียงกระซิบกระซาบนั้นแพร่ไปถึงพระกัณณ์ของพระองค์ แม้ไม่ทรงพระพิโรธแต่ต้องทรงเขินอายบรรดาสนมน้อยใหญ่ของพระองค์เป็นอย่างมาก วันหนึ่งเมื่อพระอภัยราชกุมารเข้าเฝ้าจึงรับสั่งว่า อภัยเอ๋ย ตอนนี้ พ่อเป็นริดสีดวงทวารอย่างแรง เลือดไหลไม่หยุดเลย เวลาไปไหนมาไหน เลือดไหลเปรอะผ้าหมดเลย นางสนมพากันเยาะเย้ยพ่อว่า พ่อมีประจำเดือนและมีต่อมโลหิต ไม่นานพ่อคงจะคลอด พ่อได้ยินแล้วอายนะลูกนะ ลูกมีหมอที่เชี่ยวชาญทางนี้บ้างไหม ถ้ามีช่วยเชิญมารักษาพ่อทีเถิด

เจ้าชายอภัยกราบทูลว่า ข้าพระองค์มีลูกในอุปถัมภ์คนหนึ่ง ได้ไปเรียนแพทย์จบมาจากตักกสิลา ยังเป็นหนุ่ม แต่มีความรู้ดีมาก เคยรักษามาบ้างแล้ว ตั้งแต่เพิ่งสำเร็จการศึกษาใหม่ๆ ตอนนี้ก็พักอยู่ในเขตราชสถานของข้าพระองค์พระเจ้าข้า

พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น จงนำหมอชีวกมารักษาพ่อเถิด

เจ้าชายอภัยเสด็จกลับมาแจ้งข่าวเรื่องพระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้ไปเฝ้าแก่หมอชีวกอย่างรวดเร็ว

หมอชีวกได้รับทราบข่าวนี้ด้วยความปลาบปลื้มยินดี ที่จะได้มีโอกาสถวายการรับใช้ใกล้เบื้องพระยุคลบาทของพระเจ้าพิมพิสาร พระอริยกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ ซึ่งพระองค์ทรงบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันตั้งแต่พบพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก ที่ลัฏฐิวันสวนตาลหนุ่มใกล้กรุงราชคฤห์นั้นแล้ว

หมอชีวกเตรียมตัวเดินทางเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารทันที เมื่อถวายรายงานให้พระองค์ทรงทราบถึงความเป็นมาของตนแล้ว จึงได้ตรวจรักษาแล้วปรุงยาทาขึ้นมาขนานหนึ่ง ทรงถวายให้พระองค์ จากนั้นไม่นาน โรคริดสีดวงทวารที่เป็นเรื้อรังมานานก็หายด้วยการรักษาเพียงครั้งเดียว

เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงหายจากการประชวรแล้ว ได้รับสั่งให้เข้าเฝ้าเพื่อมอบรางวัลค่ารักษาแก่หมอชีวก โดยพระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้สตรีในวังห้าร้อยคนแต่งตัวด้วยเครื่องประดับอันประกอบด้วยเพชรนิลจินดาตามที่ปรารถนา เมื่อแต่งตัวมาเฝ้าเสร็จแล้วจึงรับสั่งให้กลับไปเปลื้องเครื่องแต่งตัวที่มีค่าเหล่านั้นออก นำไปห่อแล้วนำมากองต่อหน้าพระพักตร์

พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า เราจะให้เครื่องประดับอันมีค่าเหล่านี้เป็นสมบัติของเจ้า

หมอชีวกได้ฟังดังนั้น จึงกราบบังคมทูลว่า ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ พระกรุณาของพระองค์ที่มีต่อข้าพระองค์ในครั้งนี้ หาที่สุดมิได้ ข้าพระองค์ขอถวายเครื่องประดับเหล่านี้กลับคืนแก่พระองค์ เพราะการรักษาพระองค์จนหายจากโรคในครั้งนี้ เป็นหน้าที่ของข้าพระองค์

พระเจ้าพิมพิสารได้ประจักษ์ถึงจริยธรรมและความเก่งกล้าในการรักษาของหมอชีวกแล้ว จึงทรงแต่งตั้งให้หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นแพทย์ประจำพระองค์พระเจ้าพิมพิสารและประจำพระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

หมอชีวกโกมารภัจจ์ รับพระบรมราชโองการด้วยความเต็มใจว่า ควรมิควรแล้วแต่พระองค์จะทรงพระกรุณา

แม้หมอชีวกโกมารภัจจ์ จะมีตำแหน่งเป็นแพทย์หลวงและแพทย์ประจำพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เมื่อทราบว่า ใครป่วยไข้หมอชีวกจะรักษาให้ด้วยความเต็มใจ เมื่อรักษาแล้วใครจะมอบรางวัลการรักษามากหรือน้อยไม่มีข้อกำหนด คงทำไปด้วยกุศลเจตนาที่จะรักษาชีวิตเพื่อนมนุษย์ให้หายจากความเจ็บปวด อันเกิดจากพิษไข้เป็นเรื่องสำคัญ

อ้างอิง : ผู้เขียน ดร.พระมหาจรรยา สุทธิญาโณ วัดพุทธปัญญา แคลิฟอร์เนีย พิมพ์ในนิตยสาร "เทคโนโลยีชาวบ้าน" หน้าธรรมะจากวัด หน้า 112 ฉบับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 21 ฉบับที่ 457
คะแนน
สามารถให้คะแนนได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น.

โปรดเข้าสู่ระบบก่อนการให้คะแนน.

ยังไม่มีการให้คะแนน.
แสดงผลในเวลา: 0.01 วินาที 118,200,835 ผู้เยี่ยมชม