หน้าแรก
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
รับข้อสอบ ๑
รับข้อสอบ ๒
รับข้อสอบ ๓
ระบบสมัครสอบ
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
October 04 2024 04:03:20
เมนู
หน้าแรก
ใบคำร้องฯ
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๔
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๑
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี ประถม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี มัธยม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี อุดม
รับข้อสอบ ๑
รับข้อสอบ ๒
รับข้อสอบ ๓
ทดสอบสอบความรู้จากข้อสอบธรรมศึกษา 2543-2562
eLearning ธรรมศึกษา
วีดิโอสอนธรรมศึกษา
ระเบียบการจัดสอบ ๒๕๖๐
กระดาษเขียนกระทู้ธรรม ธศ.
สมุดลงนามฯ (สมุดเยี่ยม)
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
บัญชีบรรจุใบตอบปรนัย
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ น.ธ.
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ ธ.ศ.
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน (แบบใหม่ ๒๕๖๑)
วิธีระบายเลขที่สอบ (ธรรมศึกษา)
นักธรรม (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
นักธรรม (ฟอร์มขอแก้ไข)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มขอแก้ไข)
ดาวน์โหลด
ปัญหา-เฉลย นักธรรม ๖๔
ปัญหา-เฉลย น.ธ.-ธ.ศ. ๖๕
สถิติสอบธรรม ๒๕๖๒
อันดับสำนักเรียนสอบได้มาก
ประวัตินักธรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทำเนียบแม่กองธรรม
ทำเนียบผู้บริหารปัจจุบัน
แม่กองธรรมสนามหลวง
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
หนังสือประกอบหลักสูตร
ปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษา
ระเบียบปฏิบัติทั่วไป
กฏกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๘
การขอใบรับรอง
ห้องแสดงภาพ
ห้องสนทนา
บทความ
เว็บลิงค์
คำถามยอดนิยม
ค้นหา
ส่งบทความ
ปฏิทินกิจกรรม
วิดีโอแกลอรี่
เพิ่มวิดีโอ
วีดีทัศน์เกี่ยวกับสอบธรรม 2553
ผู้มีสิทธิสอบ
ฝ่ายธุรการ
รายชื่อรัฐของสหรัฐอเมริกา
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
ติดต่อสำนักเรียน
ทั่วประเทศ
ส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค (ม)
ส่วนภูมิภาค (ธ)
เจ้าคณะตำบล-อำเภอ-จังหวัด
วัดทั่วประเทศ
สถานศึกษาทั่วประเทศ
สนามสอบทั่วประเทศ
สนามสอบนักธรรม ส่วนกลาง
ระเบียบปฏิบัติ
MOU ธรรมศึกษา
คำปราศรัยฯ น.ธ.ตรี
คำปราศรัยฯ น.ธ.โท-เอก
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน
คำอธิบายการฝนใบคำตอบ
ระเบียบการจัดสอบ
กำหนดวันสอบ ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนภูมิภาค ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ภาคผนวก ๒๕๖๗
เล่มสนามสอบ สมัยที่ ๒
วิธีการตรวจข้อสอบนักธรรม
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
สนามหลวง แผนกบาลี
ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย
ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงวัฒนธรรม
กรมการศาสนา
หัวข้อแนะนำ
ดูสถิติการเข้าชมเว็บของคุณ
Youtube Gallery
วิดีโอทั้งหมด
(11)
พระประวัติ และ ประวัติ
(3)
การศึกษาของสงฆ์ไทย
(1)
พิธีเปิดสอบธรรม พ.ศ. 2553
(0)
คู่มือ-เทคนิค-วิธีการ
(7)
วิดีโอล่าสุด
สนง.พระพุทธศาสนาฯ
เลือก
เลือก
เลือก
เลือก
เลือก
เลือก
ชวนเพื่อนมาชมเว็บนี้
อีเมล์คุณ:
ส่งถึงเพื่อน:
คัดลอกสำเนา?
การทำสามีจิกรรม เพื่อความสามัคคีกัน อยู่ร่วมกันโดยสงบสุข
การทำสามีจิกรรม
เป็นธรรมเนียมของสงฆ์อย่างหนึ่งที่ภิกษุสามเณรพึงทำความชอบต่อกัน เพื่อความสามัคคีกัน อยู่ร่วมกันโดยสงบสุข การทำความชอบนี้เรียกว่า สามีจิกรรม หมายถึง การขอขมาโทษกัน ให้อภัยกัน ทุกโอกาสไม่ว่าจะมีโทษขัดข้องหมองใจกันหรือไม่ก็ตาม โอกาสควรทำสามีจิกรรมนั้น โดยนิยมมีดังนี้
๑) ในวันเข้าพรรษา ทั้งภิกษุและสามเณรที่ร่วมอยู่วัดเดียวกันควรทำสามีจิกรรมต่อกัน เรียงตัวตั้งแต่ผู้มีอาวุโสมากที่สุด ถึงสามเณรรูปสุดท้ายในวัด ไม่ควรเว้นเพื่อความสามัคคีในวัด
สำหรับที่จะทำกันในวันเข้าพรรษา บางแห่งทำหลังจากเจริญพระพุทธมนต์ จบแล้วก่อนออกจากโรงอุโบสถ แม้ทำลำดับหลังท่านก็ไม่ห้าม สำหรับวัดที่มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาไม่มากนักควรทำร่วมกันทั้งวัดให้เสร็จภายในโรงอุโบสถในวันเข้าพรรษานี้ ทำเรียงตามลำดับอาวุโสจากพระสังฆเถระลงมาจนถึงสามเณรรูปสุดท้าย ถ้ามีจำนวนมาก จะแบ่งทำร่วมกันเฉพาะต่อท่านผู้มีพรรษาพ้นสิบซึ่งเป็นพระเถระท่านนั้นก่อนในโรงอุโบสถ นอกนั้นแยกกับไปทำตามกุฏิโดยอัธยาศัยก็ได้การทำร่วมกันในโรงอุโบสถเป็นการแสดงหน้าที่ผู้ใหญ่ผู้น้อย และแสดงความสามัคคีในหมู่คณะ มีระเบียบที่จะพึงปฏิบัติ ดังนี้
ก) ผู้รับขมาโทษ นั่งพับเพียบหันหน้ามาทางผู้ขอขมา เมื่อผู้ขอขมากราบเริ่มประณมมือรับ
ข) ผู้ขอขมาโทษคุกเข่ากราบพร้อมกัน ๓ ครั้ง เฉพาะรูปที่เป็นพระสังฆเถระและเจ้าอาวาส
ค) กราบแล้ว ยกพานเครื่องสักการะขึ้นประคองแต่อกน้อมกายลงเล็กน้อย กล่าวคำขอขมาตามแบบของวัดนั้นพร้อมกัน (ตามแบบที่ ๑ หรือที่ ๒ ซึ่งมีอยู่ข้างหน้า)
ฆ) เมื่อผู้รับขมากล่าวคำอภัยโทษตามแบบแล้วผู้ขอทั้งหมดรับคำให้อภัยตามแบบพร้อมกันด้วยอาการยกพานเครื่องสักการะขึ้นในท่าจบนิดหน่อย (เฉพาะที่ทำต่อพระสังฆเถระหรือเจ้าอาวาส วางพานเครื่องสักการะลงตรงหน้าแล้วกราบอีก ๓ ครั้ง ในบางแห่งท่านปฏิบัติกันอย่างนี้)
ง) เสร็จจากรูปหนึ่งแล้วทำกับอีกรูปหนึ่ง โดยวิธีดังกล่าว ต่อเนื่องกันไปจนถึงสามเณรรูปสุดท้าย เป็นอันเสร็จพิธีสามีจิกรรมในโรงอุโบสถวันนี้
๒) ในระยะเข้าพรรษา เริ่มแต่วันเข้าพรรษาและหลังวันเข้าพรรษา ระยะเวลาประมาณ ๗ วัน ควรทำสามีจิกรรมต่อท่านที่เคารพนับถือ ซึ่งอยู่ต่างวัดโดยทั่วถึงกัน
๓) ในโอกาสจะจากกันไปอยู่วัดอื่นหรือถิ่นอื่น นิยมทำต่อผู้ท่านผู้มีอาวุโสกว่าตนในวัด และต่อท่านที่เคารพนับถือทั่วไป เป็นการลาจากกันทั้ง ๒ กรณีนี้ เป็นการทำสามีจิกรรม แบบขอขมาโทษ
นอกจากนี้ยังมีสามีจิกรรมแบบถวายสักการะเป็นการแสดงมุทิตาจิตอีกแบบหนึ่ง นิยมทำต่อท่านที่ตนเคารพนับถือในโอกาสที่ท่านผู้นั้นได้รับอิสริยศักดิ์ หรือได้รับยกย่องในฐานันดรศักดิ์เป็นการแสดงจิตใจที่พลอยยินดีให้ปรากฏเพราะความมุ่งหมายและเหตุผลของการทำสามีจิกรรมมีดังกล่าว การกระทำจึงเกิดพิธีขึ้นโดยนิยมเป็นแบบ ๆ ดังต่อไปนี้
๑. สามีจิกรรมแบบขอขมาโทษนอกโรงอุโบสถหรือนอกวัด
ก) จัดเครื่องสักการะ คือ ดอกไม้ ธูป เทียน ใส่พาน หรือภาชนะที่สมควร ธูปเทียนที่นิยมกัน ใช้ธูปเทียนที่มัดรวมกันเป็นแพผูกโบว์วางบนพาน ดอกไม้จัดใส่กระทงขนาดพอเหมาะกับธูปเทียนแพ วางกระทงดอกไม้ลงบนแพธูปเทียนนั่นหรือจะเป็นเล่มนั้น หรือเป็นดอก ๆ ก็ได้ สุดแต่จะจัดได้อย่างไร
ข) ครองผ้าเรียบร้อยตามนิยมของวัดที่สังกัด ถ้าเป็นภิกษุพาดสังฆาฏิด้วย
ค) ถือพานดอกไม้ธูปเทียน ประคองสองมือเข้าไปหาท่านที่ตนจะขอขมา คุกเข่าลงตรงหน้า ระยะห่างกันประมาณศอกเศษ วางพานทางซ้ายมือของตน กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วยกพานขึ้นประคองสองมือแค่อกกล่าวคำขอขมาตามแบบนิยม
ฆ) เมื่อท่านที่ตนขอขมากล่าวคำให้อภัยโทษแล้ว พึงรับคำตามแบบนิยมต่อนี้ ถ้าท่านที่ตนขอขมาให้พรต่อท้าย พึงสงบใจรับพรจากท่านจนจบ และรับคำด้วยคำว่า สาธุ ภนฺเต ถ้าไม่มีพรให้ต่อ หรือให้พรและรับพรเสร็จแล้ว พึงน้อมพานสักการะนั้นเข้าไปประเคน และกราบอีก ๓ ครั้ง เป็นเสร็จพิธีขอขมา
๒. สามีจิกรรมแบบถวายสักการะ
ก) จัดเตรียมเครื่องสักการะอย่างเดียวกับแบบขอขมา แต่ในกรณีนี้อาจเพิ่มเติมของใช้หรือสิ่งอื่นใดที่ควรแก่สมณบริโภคด้วยก็ได้
ข) การทำในแบบนี้ ไม่นิยมว่าผู้ที่ตนทำจะต้องแก่อาวุโสกว่าตนเหมือนในแบบขอขมา แม้ผู้นี้อ่อนอาวุโสกว่า ก็ทำได้
ค) ครองผ้าเรียบร้อยดังกล่าวในเรื่องขอขมา ถือเครื่องสักการะเข้าไปหาท่านที่ตนจะทำแล้วประเคนทันที ท่าตนอ่อนอาวุโสกว่าพึงกราบ ๓ ครั้ง ถ้าแก่กว่า ไม่ต้องกราบ เพียงแต่รับไหว้โดยนั่งพับเพียบประณมมือ ให้เมื่อผู้อ่อนกว่ากราบ เท่านี้เป็นอันเสร็จพิธี
ข้อมูลอ้างอิงประกอบบทความ : หนังสือศาสนพิธี เล่ม ๒
"นายอั๋น"
โพสโดย
webmaster
เมื่อ September 18 2009 18:21:48 24782 ครั้ง ·
คะแนน
สามารถให้คะแนนได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น.
โปรดเข้าสู่ระบบก่อนการให้คะแนน.
ยังไม่มีการให้คะแนน.
แสดงผลในเวลา: 0.01 วินาที
134,650,908 ผู้เยี่ยมชม
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง อาคารหอสมุดมหามกุฏราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร
เลขที่ ๒๘๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๖๖๒ ๘๕๘๕ โทรสาร ๐ ๒๖๒๙ ๒๑๔๒
ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์
****************************************
เนื้อหาที่ปรากฏในเว็บไซต์นี้ เป็นการจัดข้อมูลตามความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
แสดงปกติในหน้าจอโหมด ๑๐๒๔ x ๗๖๘ โปรแกรม Interner Explorer ทั่วไป
และแสดงปกติในหน้าจอโหมด ๑๐๒๔ x ๗๖๘
โปรแกรม Mozilla FireFox 3.5
ไม่รับรองว่าจะแสดงผลปกติใน web browser อื่น ๆ นอกจากที่กล่าวนี้
สนับสนุนเว็บไซต์โดย:
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
Internet Solution & Service Provider