September 15 2024 15:00:56
เมนู
หน้าแรก
ใบคำร้องฯ
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๔
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๑
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี ประถม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี มัธยม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี อุดม
รับข้อสอบ ๑
รับข้อสอบ ๒
รับข้อสอบ ๓
ทดสอบสอบความรู้จากข้อสอบธรรมศึกษา 2543-2562
eLearning ธรรมศึกษา
วีดิโอสอนธรรมศึกษา
ระเบียบการจัดสอบ ๒๕๖๐
กระดาษเขียนกระทู้ธรรม ธศ.
สมุดลงนามฯ (สมุดเยี่ยม)
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
บัญชีบรรจุใบตอบปรนัย
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ น.ธ.
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ ธ.ศ.
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน (แบบใหม่ ๒๕๖๑)
วิธีระบายเลขที่สอบ (ธรรมศึกษา)
นักธรรม (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
นักธรรม (ฟอร์มขอแก้ไข)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มขอแก้ไข)
ดาวน์โหลด
ปัญหา-เฉลย นักธรรม ๖๔
ปัญหา-เฉลย น.ธ.-ธ.ศ. ๖๕
สถิติสอบธรรม ๒๕๖๒
อันดับสำนักเรียนสอบได้มาก

ประวัตินักธรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทำเนียบแม่กองธรรม
ทำเนียบผู้บริหารปัจจุบัน
แม่กองธรรมสนามหลวง
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
หนังสือประกอบหลักสูตร
ปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษา
ระเบียบปฏิบัติทั่วไป
กฏกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๘

การขอใบรับรอง

ห้องแสดงภาพ
ห้องสนทนา
บทความ
เว็บลิงค์
คำถามยอดนิยม
ค้นหา

ส่งบทความ
ปฏิทินกิจกรรม

วิดีโอแกลอรี่
เพิ่มวิดีโอ
วีดีทัศน์เกี่ยวกับสอบธรรม 2553
ผู้มีสิทธิสอบ
ฝ่ายธุรการ
รายชื่อรัฐของสหรัฐอเมริกา
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
ติดต่อสำนักเรียน
ทั่วประเทศ
ส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค (ม)
ส่วนภูมิภาค (ธ)

เจ้าคณะตำบล-อำเภอ-จังหวัด
วัดทั่วประเทศ
สถานศึกษาทั่วประเทศ

สนามสอบทั่วประเทศ
สนามสอบนักธรรม ส่วนกลาง
ระเบียบปฏิบัติ
MOU ธรรมศึกษา
คำปราศรัยฯ น.ธ.ตรี
คำปราศรัยฯ น.ธ.โท-เอก
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ

ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน
คำอธิบายการฝนใบคำตอบ

ระเบียบการจัดสอบ
กำหนดวันสอบ ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนภูมิภาค ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ภาคผนวก ๒๕๖๗
เล่มสนามสอบ สมัยที่ ๒

วิธีการตรวจข้อสอบนักธรรม
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
สนามหลวง แผนกบาลี
ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย
ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงวัฒนธรรม
กรมการศาสนา
หัวข้อแนะนำ
พระมหาสมณเจ้าฯ

งานฉลอง ๙๗ พระชันษา

ดูสถิติการเข้าชมเว็บของคุณ
Youtube Gallery
   วิดีโอทั้งหมด (11)
   พระประวัติ และ ประวัติ (3)
   การศึกษาของสงฆ์ไทย (1)
   พิธีเปิดสอบธรรม พ.ศ. 2553 (0)
   คู่มือ-เทคนิค-วิธีการ (7)
วิดีโอล่าสุด
video

video

สนง.พระพุทธศาสนาฯ



ชวนเพื่อนมาชมเว็บนี้

อีเมล์คุณ:
ส่งถึงเพื่อน:
คัดลอกสำเนา?
พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ พระองค์ผู้ทรงเริ่มต้นการสอบธรรมศึกษา



พระประวัติ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์) วัดราชบพิธฯ
สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระองค์ผู้ทรงเริ่มต้นการสอบธรรมศึกษา


พระประวัติเบื้องต้น

สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าภุชงค์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้นหนึ่ง กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ กับ หม่อมปุ่น ชุมพูนุท ประสูติ เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม ๗ ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๒ เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้ตามเสด็จคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ จนถึงเมืองสิงคโปร์ แล้วโปรดให้อยู่เล่าเรียนในโรงเรียนแรฟฟัล ณ เมือง สิงคโปร์นั้น พร้อมกับหม่อมเจ้าอื่นๆ อีกราว ๒๐ องค์ ทรงเล่าเรียนอยู่ที่เมืองสิงคโปร์เป็นเวลา ๙ เดือน เมื่อทางกรุงเทพฯ ได้มีการเปิดโรงเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเจ้านายขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ จึงโปรดให้กลับมาเล่าเรียนต่อที่กรุงเทพฯ

ทรงผนวช

พ.ศ. ๒๔๑๖ พระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระยศกรมหมื่นเป็นพระอุปัชฌาย์ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร แต่ยังทรงเป็นหม่อมเจ้าพระราชาคณะ เป็นพระอาจารย์ เมื่อทรงผนวชแล้วเสด็จอยู่ที่วัดราชบพิธ ทรงเล่าเรียนพระปริยัติธรรมต่อมาจนถึงพระชนมายุครบอุปสมบท จึงทรงอุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อทรงอุปสมบทแล้วก็เสด็จประทับ ณ วัดราชบพิธตามเดิม ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม ๒ ครั้ง ได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค

พ.ศ. ๒๔๓๐ เมื่อทรงอุปสมบทได้ ๘ พรรษา ทรงพระกรุณาโปรดตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระสถาพรพิริยพรต

ทรงเป็นกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย

พ.ศ. ๒๔๓๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขณะทรงดำรงพระยศ กรมหมื่น ได้ทรงพระดำริจัดตั้งสถาบันการศึกษาแบบใหม่สำหรับภิกษุสามเณร ตลอดถึงจัดตั้งโรงเรียนสำหรับกุลบุตรขึ้น เรียกว่า มหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระนามาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อจัดการศึกษาสำหรับภิกษุสามเณรและกุลบุตรให้ทันสมัย และเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ขณะทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่ พระสถาพรพิริยพรต ก็ทรงเป็นกรรมการพระองค์หนึ่งในกรรมการชุดแรกของมหามกุฏราชวิทยาลัย นับว่าทรงเป็นผู้ร่วมบุกเบิกกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยมาแต่เริ่มต้น และได้ทรงเริ่มมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้ามาจนตลอดพระชนม์ชีพ ของพระองค์

พ.ศ. ๒๔๓๘ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่เสมอชั้นเทพ

พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมปาโมกข์ในราชทินนามเดิม

ทรงครองวัดราชบพิธ

พ.ศ. ๒๔๔๔ พระองค์เจ้าอรุณนิภาคุณากร เจ้าอาวาสวัดราชบพิธ สิ้นพระชนม์ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ทรงครองวัดราชบพิธสืบต่อมา นับเป็นเจ้าอาวาสพระองค์ที่ ๒

พ.ศ. ๒๔๔๙ ทรงสถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้ารองที่ พระพรหมมุนี เจ้าคณะรองในคณะกลาง ในราชทินนามเดิมพร้อมทั้งทรงสถาปนาพระอิสริยยศเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า

พ.ศ. ๒๔๕๓ ในรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาพระอิสริยยศเป็นพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ ทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่คณะกลาง

ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า

พ.ศ. ๒๔๖๔ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๖๔ ครั้นถึงวันที่ ๒๐ สิหาคม ๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ และทรงสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลสังฆปริณายก

ถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศเป็น กรมหลวง

คำเรียกตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชมี ๓ อย่าง

เมื่อทรงสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ เป็น สมเด็จสกลสังฆปริณายก ประธานาธิบดีแห่งสงฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร นั้น โปรดสถาปนาคำสำหรับเรียกตำแหน่งนี้ว่า “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” ซึ่งปรากฏพระนามนี้ขึ้นเป็นครั้งแรกในคราวนี้ ฉะนั้น จึงได้มีคำนำพระนามสำหรับตำแหน่ง สมเด็จสกลสังฆปริณายก หรือ สมเด็จสกลมหาสังฆปริณายก เป็น ๓ อย่างเป็นธรรมเนียมสืบมา คือ

เจ้านายชั้นสูงผู้ทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จสกลสังฆปริณายก หรือ สมเด็จพระสังฆราช มีคำนำพระนามว่า “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า” คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า มีชื่อเรียกเป็นพิเศษว่า “มหาสมณุตมาภิเษก” เจ้านายผู้ทรงได้รับถวายมหาสมณุตมาภิเษกเท่าที่ปรากฏมา เป็นชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป สมเด็จพระมหาสมณเจ้าทรงพระยศสูงกว่า สมเด็จพระสังฆราชทั่วไป ทรงเศวตฉัตร ๕ ชั้น เกิดมีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๖ เมื่อทรงถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงโปรดสถาปนาเป็น สมเด็จพระสกลสังฆปริณายก หรือสมเด็จพระสังฆราช มีคำนำพระนามว่า “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” ซึ่งมีอยู่ ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวร สิริวัฒน์ (พระนามเดิมหม่อมเจ้าภุชงค์) และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์ ชื่น นภวงศ์) สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงพระยศสูงกว่าสมเด็จพระสังฆราชทั่วไป ทรงฉัตร ๕ ชั้น พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงโปรดสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เท่าที่ปรากฏมา เป็นชั้นหม่อมเจ้าลงมา เกิดมีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๖ เช่นกัน โดยทรงสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ ในตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นสมเด็จพระองค์แรก

ท่านผู้ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จสกลสังฆปริณายก ที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ เรียกว่า “สมเด็จพระสังฆราช” ซึ่งมีมาแต่โบราณจวบจนปัจจุบัน ทรงฉัตร ๓ ชั้น

สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า หรือสมเด็จพระสังฆราชเจ้านั้น มีพระนามเฉพาะสำหรับแต่ละพระองค์ไป เช่น กรมพระปรมานุชิตชิโนรส กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เป็นต้น แต่สำรับผู้ที่มิใช่พระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราชนั้น มีพระนามสำหรับตำแหน่งเหมือนกันทุกพระองค์มาแต่โบราณ คือ “สมเด็จพระอริยวงษญาณ” ซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแก้ไขเป็น “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ” ดังที่ปรากฏสืบมาจนปัจจุบัน

อนึ่ง สมเด็จพระสังฆราช ผู้มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ แต่มีพระนามสำหรับตำแหน่งเป็นพิเศษ ไม่ใช้พระนามว่า “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ” มีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น คือ “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” พระองค์ปัจจุบัน ซึ่ง เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย

มหามกุฏราชวิทยาลัยซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงพระดำริจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ เพื่อเป็นสถานศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนานั้น ได้ดำเนินการกิจการมาเป็นลำดับโดยต่อเนื่อง โดยระยะแรกพระเถรานุเถระในคณะธรรมยุตผู้เป็นกรรมการ ได้ผลัดเปลี่ยนกันเป็นนายกกรรมการระยะ ๑ ปี การบริหารกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยได้ดำเนินมาในลักษณะนี้จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของมหามกุฏฯ การผลัดเปลี่ยนกันเป็นนายกกรรมการระหว่างการไม่เป็นการสะดวก จึงตกเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตต้องได้รับภาระเป็นนายกกรรมการโดยตำแหน่ง ซึ่งได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาจนปัจจุบัน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ได้ทรงดำรงตำแหน่งนายกกรรมการมหามกุฏฯ นั้น ได้โปรดให้จัดตั้ง “มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย” ขึ้น เพื่อนำดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สินของมหามกุฏฯ มาช่วยบำรุงอุดหนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ หลังจากที่ได้ตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยมาได้ ๔๐ ปี นับเป็นพัฒนาการขั้นที่ ๒ ของมหามกุฏราชวิทยาลัย สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ จึงทรงเป็นนายกกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นพระองค์แรก

งานนิพนธ์

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ ทรงมีพระปรีชาสามารถในทางรจนา นับได้ว่าทรงเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญพระองค์หนึ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงพระนิพนธ์ตำรับตำรา และหนังสือสำคัญทางพระพุทธศาสนาไว้มาก เช่นพระคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาหรือพจนานุกรมภาษาบาลีแปลเป็นไทย มหานิบาตชาดก ต้นบัญญัติ สามเณรสิกขา เป็นต้น ซึ่งพระนิพนธ์เหล่านี้ยังได้ใช้เป็นคู่มือในการศึกษาภาษาบาลีและศึกษาพระพุทธศาสนาของภิกษุสามเณรและ บุคคลทั่วไปอย่างแพร่หลายอยู่จนบัดนี้

พระอวสานกาล

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ทรงประชวรด้วยพระโรคเส้นพระโลหิตในกระเพาะพระบังคลเบาพิการ ทำให้พระบังคลเบาเป็นโลหิต สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ สิริรวมพระชนมายุได้ ๗๘ พรรษา ทรงดำรงอยู่ในตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ๑๖ ปี

อ้างอิง : ย่อความจาก "ธรรมจักษุ" นิตยสารทางพระพุทธศาสนารายเดือน จัดทำโดย มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
คะแนน
สามารถให้คะแนนได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น.

โปรดเข้าสู่ระบบก่อนการให้คะแนน.

ยังไม่มีการให้คะแนน.
แสดงผลในเวลา: 0.01 วินาที 132,165,576 ผู้เยี่ยมชม