March 29 2024 02:13:11
เมนู
หน้าแรก
ใบคำร้องฯ
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๔
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๑
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี ประถม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี มัธยม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี อุดม
ทดสอบสอบความรู้จากข้อสอบธรรมศึกษา 2543-2562
eLearning ธรรมศึกษา
วีดิโอสอนธรรมศึกษา
ระเบียบการจัดสอบ ๒๕๖๐
กระดาษเขียนกระทู้ธรรม ธศ.
สมุดลงนามฯ (สมุดเยี่ยม)
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
บัญชีบรรจุใบตอบปรนัย
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ น.ธ.
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ ธ.ศ.
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน (แบบใหม่ ๒๕๖๑)
วิธีระบายเลขที่สอบ (ธรรมศึกษา)
นักธรรม (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
นักธรรม (ฟอร์มขอแก้ไข)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มขอแก้ไข)
ดาวน์โหลด
ปัญหา-เฉลย นักธรรม ๖๔
ปัญหา-เฉลย น.ธ.-ธ.ศ. ๖๕
สถิติสอบธรรม ๒๕๖๒
อันดับสำนักเรียนสอบได้มาก

ประวัตินักธรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทำเนียบแม่กองธรรม
ทำเนียบผู้บริหารปัจจุบัน
แม่กองธรรมสนามหลวง
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
หนังสือประกอบหลักสูตร
ปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษา
ระเบียบปฏิบัติทั่วไป
กฏกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๘

การขอใบรับรอง

ห้องแสดงภาพ
ห้องสนทนา
บทความ
เว็บลิงค์
คำถามยอดนิยม
ค้นหา

ส่งบทความ
ปฏิทินกิจกรรม

วิดีโอแกลอรี่
เพิ่มวิดีโอ
วีดีทัศน์เกี่ยวกับสอบธรรม 2553
ผู้มีสิทธิสอบ
ฝ่ายธุรการ
รายชื่อรัฐของสหรัฐอเมริกา
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
ติดต่อสำนักเรียน
ทั่วประเทศ
ส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค (ม)
ส่วนภูมิภาค (ธ)

เจ้าคณะตำบล-อำเภอ-จังหวัด
วัดทั่วประเทศ
สถานศึกษาทั่วประเทศ

สนามสอบทั่วประเทศ
สนามสอบนักธรรม ส่วนกลาง
ระเบียบปฏิบัติ
MOU ธรรมศึกษา
คำปราศรัยฯ น.ธ.ตรี
คำปราศรัยฯ น.ธ.โท-เอก
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ

ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน
คำอธิบายการฝนใบคำตอบ

ระเบียบการจัดสอบ
กำหนดวันสอบ ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนภูมิภาค ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ภาคผนวก ๒๕๖๖
เล่มสนามสอบ สมัยที่ ๒

วิธีการตรวจข้อสอบนักธรรม
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
สนามหลวง แผนกบาลี
ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย
ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงวัฒนธรรม
กรมการศาสนา
หัวข้อแนะนำ
พระมหาสมณเจ้าฯ

งานฉลอง ๙๗ พระชันษา

ดูสถิติการเข้าชมเว็บของคุณ
Youtube Gallery
   วิดีโอทั้งหมด (11)
   พระประวัติ และ ประวัติ (3)
   การศึกษาของสงฆ์ไทย (1)
   พิธีเปิดสอบธรรม พ.ศ. 2553 (0)
   คู่มือ-เทคนิค-วิธีการ (7)
วิดีโอล่าสุด
video

video

สนง.พระพุทธศาสนาฯ



ชวนเพื่อนมาชมเว็บนี้

อีเมล์คุณ:
ส่งถึงเพื่อน:
คัดลอกสำเนา?
ธรรมศึกษา : ธรรมาภิบาลแห่งชาติ
ธรรมศึกษา : ธรรมาภิบาลแห่งชาติ


โดย พระพจนารถ ปภาโส
รองหัวหน้าฝ่ายนโยบายและแผน
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง

         ความมุ่งหวังให้ประเทศไทยมีความวัฒนาสถาพร อันเกิดจากความมั่นคงเข็มแข็งทางเศรษฐกิจ และไม่มีปัญหาทางสังคม เป็นเจตจำนงที่บัณฑิตชนชาวไทยทุกคนปรารถนา การเรียกร้องให้รัฐบาลได้บริหารประเทศด้วยหลักธรรมาภิบาลจึงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพราะมีแต่การคิดและพูดถึงหลักธรรมาภิบาลของหลายคน หายนะในการปกครองของประเทศไทยจึงเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งความคิดนั้น ถึงเวลาแล้วที่ ชาวไทยทุกคนจะต้องทำตนให้มีหลักธรรมาภิบาลในกิจการของตน ถ้าทุกคนสามารถสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในกิจการของตนได้แล้ว การประสานเสริมสนับสนุนให้เกิดประโยชน์ระหว่างกิจการของแต่ละบุคคล ย่อมนำให้เกิดธรรมาภิบาลขึ้นในสังคม ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับประเทศ ความวัฒนาสถาพรของประเทศไทย ย่อมเป็นผลงานที่ควรแก่ความภูมิใจของทุกคนบนพื้นแผ่นดินไทน

         ธรรมาภิบาล หมายถึง การปกครองด้วยการบริหารจัดการที่ดีงาม ที่เป็นธรรม อันประกอบด้วย หลักการ ๖ อย่าง คือ ๑. หลักนิติธรรม , ๒. หลักคุณธรรม , ๓. หลักความโปร่งใส , ๔. หลักการมีส่วนร่วม , ๕. หลักความรับผิดชอบ และ ๖. หลักความคุ้มค่า

         ๑. หลักนิติธรรม หมายถึง การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับและกติกาต่างๆ ในการบริหาร ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม ทุกคนที่เกี่ยวข้อง มีการยอมรับและยินดีที่จะปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ด้วยเห็นถึงความเสมอภาคและความเป็นธรรม อันจักเกิดขึ้นในสิทธิประโยชน์ของตน

         ๒. หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม ตรงตามธรรม ของบุคคล ในการปฏิบัติหน้าให้สัมฤทธิผลตามเป้าหมาย ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่, ความเสียสละเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่กิจการ, ความขยันหมั่นเพียรและอดทนทำกิจการจนบรรลุเป้าหมายของกิจการนั้น, ความมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น

         ๓. หลักความโปร่งใส หมายถึง การบริหารกิจการอย่างเปิดเผยบนพื้นฐานของความสุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง กอปรด้วยความไว้วางใจซึ่งกันและกันในการดำเนินงาน สามารถตรวจสอบความบริสุทธิ์ใน กิจการได้ในทุกขั้นตอน ไม่มีการทุจริตในกิจการ

         ๔. หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องในกิจการมีส่วนรับรู้ และมีส่วนช่วยใน กิจการ ตามกำลังความสามารถของตน อันจะนำให้เกิดความสามัคคีในการดำเนินกิจการให้เกิดความสำเร็จตามนโยบายที่กำหนดไว้ การประสานงานในกิจการเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์และยุติธรรม

         ๕. หลักความรับผิดชอบ หมายถึง ความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละบุคคล ด้วยความรับ ผิดชอบ เป็นธรรม และพัฒนางานของตนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่กิจการ สอดประสานกับงานของบุคคลอื่น จนเกิดประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ของกิจการ

         ๖. หลักความคุ้มค่า หมายถึง การได้ประโยชน์สูงสุดในทรัพยากรของกิจการ บนพื้นฐานแห่งความประหยัดและความเป็นธรรม

         การจะทำให้ทุกคนได้ตระหนักถึงหลักธรรมาภิบาล จนสามารถนำไปปฏิบัติให้บรรลุผล จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนผู้มุ่งหวังให้เกิดธรรมาภิบาลในกิจการ จะต้องเรียนรู้หลักธรรมในศาสนาของตน ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ จนสามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยหลักธรรมนั้น นี่คือธรรมมาภิบาลที่ทุกคนปรารถนาอย่างแท้จริง

         เพราะตระหนักถึงความสำคัญแห่งหลักธรรมาภิบาล คณะสงฆ์จึงมุ่งมั่นที่จะให้ความรู้พื้นฐานในพระพุทธศาสนาแก่พุทธศาสนิกชน ตามหลักสูตรธรรมศึกษา ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๕๒ นี้ มีผู้สนใจสมัครเรียนทั่วประเทศ ๑,๙๐๖,๘๓๙ คน โดยเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ๑,๑๒๓,๗๑๙ คน ธรรมศึกษาชั้นโท ๕๙๖,๙๙๑ คน ธรรมศึกษาชั้นเอก ๑๘๖,๙๙๑ น. และเพื่อให้เกิดมาตรฐานในการเรียนการสอน คณะสงฆ์ได้มอบหมายให้แม่กองธรรมสนามหลวงจัดการสอบความรู้พร้อมกันทั่วประเทศ ที่เรียกว่า “ การสอบธรรมสนามหลวง ” ในวันจันทร์ ที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. โดยใช้สนามสอบรวมทั้งสิ้น ๓,๗๘๕ สนามสอบ

         แม้จำนวนนักเรียนธรรมศึกษาจะมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่พัฒนาการทางพุทธธรรมของนักเรียนจนสามารถนำไปปฏิบัติให้เป็นหลักธรรมาภิบาล ต้องใช้เวลานานพอสมควร กว่าที่นักเรียนส่วนใหญ่จะได้เข้าร่วมในกิจการ และมีจำนวนมากพอที่จะผลักดันหลักธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในกิจการอย่างแท้จริง เปรียบดังการใช้น้ำสะอาดบริสุทธิ์จำนวนมากเพื่อผลักดันให้น้ำเสียหมดไปจากลำคลอง

         เหตุนี้ จึงได้กล่าวไว้ ณ เบื้องต้นว่า ธรรมศึกษา คือ ธรรมาภิบาลแห่งชาติ ควรที่เจ้าของกิจการจักได้สนับสนุนให้บุคคลากรในองค์กรได้เรียนธรรมศึกษา เหมือนดังที่ บริษัท ซีพีออล จำกัด ผู้บริหารกิจการ ร้าน 7 – 11 และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด ที่ได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้

         เมื่อทุกกิจการสามารถมีบุคลากรที่ทรงภูมิธรรมพื้นฐานตามหลักสูตรธรรมศึกษา ย่อมเป็นการเชื่อได้ว่า หลักธรรมาภิบาล ย่อมมีในกิจการนั้น ที่สุดการสอดประสานกันระหว่างกิจการ ทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน ก็จะพัฒนาประเทศไทยให้เกิดความวัฒนาสถาพรแบบยั่งยืนได้ตลอดไป

๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
เวลา ๗.๒๘ น.

คะแนน
สามารถให้คะแนนได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น.

โปรดเข้าสู่ระบบก่อนการให้คะแนน.

ยังไม่มีการให้คะแนน.
แสดงผลในเวลา: 0.03 วินาที 118,148,191 ผู้เยี่ยมชม