หน้าแรก
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
รับข้อสอบ ๑
รับข้อสอบ ๒
รับข้อสอบ ๓
ระบบสมัครสอบ
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
December 02 2024 17:56:35
เมนู
หน้าแรก
ใบคำร้องฯ
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๔
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี ประถม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี มัธยม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี อุดม
รับข้อสอบ ๑
รับข้อสอบ ๒
รับข้อสอบ ๓
ทดสอบสอบความรู้จากข้อสอบธรรมศึกษา 2543-2562
eLearning ธรรมศึกษา
วีดิโอสอนธรรมศึกษา
ระเบียบการจัดสอบ ๒๕๖๐
กระดาษเขียนกระทู้ธรรม ธศ.
สมุดลงนามฯ (สมุดเยี่ยม)
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
บัญชีบรรจุใบตอบปรนัย
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ นธ.
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ ธศ.
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน (แบบใหม่ ๒๕๖๑)
วิธีระบายเลขที่สอบ (ธรรมศึกษา)
นักธรรม (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
นักธรรม (ฟอร์มขอแก้ไข)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มขอแก้ไข)
ดาวน์โหลด
ปัญหา-เฉลย นักธรรม ๖๔
ปัญหา-เฉลย น.ธ.-ธ.ศ. ๖๕
สถิติสอบธรรม ๒๕๖๒
อันดับสำนักเรียนสอบได้มาก
ประวัตินักธรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทำเนียบแม่กองธรรม
ทำเนียบผู้บริหารปัจจุบัน
แม่กองธรรมสนามหลวง
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
หนังสือประกอบหลักสูตร
ปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษา
ระเบียบปฏิบัติทั่วไป
กฏกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๘
การขอใบรับรอง
ห้องแสดงภาพ
ห้องสนทนา
บทความ
เว็บลิงค์
คำถามยอดนิยม
ค้นหา
ส่งบทความ
ปฏิทินกิจกรรม
วิดีโอแกลอรี่
เพิ่มวิดีโอ
วีดีทัศน์เกี่ยวกับสอบธรรม 2553
ผู้มีสิทธิสอบ
ฝ่ายธุรการ
รายชื่อรัฐของสหรัฐอเมริกา
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
ติดต่อสำนักเรียน
ทั่วประเทศ
ส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค (ม)
ส่วนภูมิภาค (ธ)
เจ้าคณะตำบล-อำเภอ-จังหวัด
วัดทั่วประเทศ
สถานศึกษาทั่วประเทศ
สนามสอบทั่วประเทศ
สนามสอบนักธรรม ส่วนกลาง
ระเบียบปฏิบัติ
MOU ธรรมศึกษา
คำปราศรัยฯ นธ.ตรี
คำปราศรัยฯ นธ.โท-เอก
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน
คำอธิบายการฝนใบคำตอบ
ระเบียบการจัดสอบ
กำหนดวันสอบ ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนภูมิภาค ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ภาคผนวก ๒๕๖๗
เล่มสนามสอบ สมัยที่ ๒
วิธีการตรวจข้อสอบนักธรรม
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
สนามหลวง แผนกบาลี
ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย
ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงวัฒนธรรม
กรมการศาสนา
หัวข้อแนะนำ
ดูสถิติการเข้าชมเว็บของคุณ
Youtube Gallery
วิดีโอทั้งหมด
(11)
พระประวัติ และ ประวัติ
(3)
การศึกษาของสงฆ์ไทย
(1)
พิธีเปิดสอบธรรม พ.ศ. 2553
(0)
คู่มือ-เทคนิค-วิธีการ
(7)
วิดีโอล่าสุด
สนง.พระพุทธศาสนาฯ
เลือก
เลือก
เลือก
เลือก
เลือก
เลือก
ชวนเพื่อนมาชมเว็บนี้
อีเมล์คุณ:
ส่งถึงเพื่อน:
คัดลอกสำเนา?
๒ ล้านดวงใจ….สอบธรรม....เพื่อในหลวง
๒ ล้านดวงใจ….สอบธรรม....เพื่อในหลวง
โดย พระพจนารถ ปภาโส
รองหัวหน้าฝ่ายนโยบายและแผน
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
“ ประเทศใด มีพลเมืองกอปรด้วยธรรมาภิบาล ประเทศนั้น ย่อมมีแต่ความวัฒนาสถาพร ”
ประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน จนพุทธธรรมได้ถูกปรับประยุกต์เข้าสู่วัฒนธรรมประเพณี และพัฒนาจนเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย
ความใฝ่ใจในการศึกษาพุทธธรรมของคนไทย ถูกปลูกฝังมาแต่ครั้งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงนำพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท มาเป็นหลักธรรมภิบาลในการปกครองประเทศ ข้าราชการที่ผ่านการศึกษาพุทธธรรม จึงเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมที่งดงาม สามารถสนองพระเดชพระคุณ บุรพกษัตริย์ ให้ทรงบริหารราชการแผ่นดิน นำความผาสุกให้เกิดแก่ผู้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร
ความวิบัติของประเทศไทย ตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา ล้วนเกิดขึ้นจากข้าราชบริพารที่ไม่สามารถน้อมนำพุทธธรรมมาสู่วิถีการดำเนินชีวิตของตน ดำรงตนเป็นผู้เต็มไปด้วยความโลกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เขาเหล่านั้นล้วนสร้างหายนะให้เกิดขึ้นแก่ประเทศไทย การเสียกรุงศรีอยุธยาทั้ง ๒ ครั้ง เป็นตัวอย่างที่เด่นชัด แม้ขณะปัจจุบัน บุคคลที่สร้างหายนะให้แก่ประเทศไทย ก็คือคนที่เป็นข้าราชการ ผู้ห่างไกลจากพุทธธรรม เช่นกัน
การสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในกมลสันดานของคนไทย เพื่อสร้างคนไทยที่มีคุณธรรมและจริยธรรม ที่จะร่วมสามัคคีธรรมกัน ในการสร้างสรรค์ประเทศไทยให้มีความวัฒนาสถาพร จึงเป็นหน้าที่ของคณะสงฆ์ ผู้เป็นศาสนทายาทสืบทอดพุทธธรรมให้ดำรงสืบมา
แต่เดิมการสอนพุทธธรรม เป็นการสอนตามคัมภีร์ ตามภูมิความรู้ของพระสงฆ์ ผู้เป็นครูอาจารย์ คุณวุฒิของพระสงฆ์ผู้เป็นครูอาจารย์ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการถ่ายทอดพุทธธรรมเข้าสู่สามัญ-สำนึกของศิษย์ ความหลากหลายในการอธิบายพุทธธรรม จึงเป็นเหตุก่อให้เกิดความผิดเพี้ยนในการอธิบายพุทธธรรม และนำให้เกิดการนำศาสตร์อื่นเข้ามาสู่วงวัด
ด้วยตระหนักถึงผลเสียหายอันจักมีขึ้นได้ในกาลต่อมา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา-วชิรญาณวโรรส จึงทรงจัดหลักสูตรสำหรับสอนภิกษุสามเณรขึ้น โดยทรงคัดเนื้อหาข้อสำคัญในพระไตรปิฎก มาเป็นหลักสูตร และทรงพัฒนาหลักสูตรนั้นเป็นนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก ตามลำดับ เมื่อการเรียนการสอนในหลักสูตรนักธรรมแพร่หลายไปทั่วพระราชอาณาจักร เป็นเหตุนำให้ฆราวาสผู้ใฝ่ใจในการศึกษาพุทธธรรม ได้นำตนเข้าศึกษาหลักสูตรนักธรรมตามอารามต่างๆ และได้มีการร้องขอให้มหาเถรสมาคม จัดสอบความรู้ของตนด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงอนุมัติให้มีการจัดหลักสูตรธรรมศึกษาสำหรับฆราวาสขึ้น และให้แม่กองธรรมสนามหลวงจัดสอบความรู้ฆราวาส ตามหลักสูตรเป็นครั้งแรกในปีการศึกษาพุทธศักราช ๒๔๗๒ การเรียนการสอนธรรมศึกษาได้ขยายไปทั่วประเทศ ทำให้ปริมาณนักเรียนธรรมศึกษา เพิ่มขึ้นทุกปี
ในปีการศึกษา ๒๕๕๒ มีนักเรียนธรรมศึกษารวมทั่วประเทศ ๑,๙๐๖,๘๗๓ คน แบ่งเป็น ธรรมศึกษาชั้นตรี ๑,๑๒๓,๖๒๓ คน ธรรมศึกษาชั้นโท ๕๙๖,๒๗๔ คน และธรรมศึกษาชั้นเอก ๑๘๖,๙๗๖ คน โดยมีพระสงฆ์รับเป็นครูสอนให้ความรู้พุทธธรรม ตามหลักสูตรที่มหาเถรสมาคมกำหนด
มหาเถรสมาคม มีมติที่ ๓๓๔/๒๕๕๒ กำหนดวันสอบธรรมสนามหลวง ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๒ พร้อมกันทั่วพระราชอาณาจักร ดังนี้
๑. นักธรรมชั้นตรี กำหนดสอบ วันที่ ๒๘ – ๒๙ – ๓๐ กันยายน – ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
๒. นักธรรมชั้นโท – เอก กำหนดสอบ วันที่ ๔ – ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
๓. ธรรมศึกษาทุกชั้น กำหนดสอบ วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
การสอบธรรมสนามหลวง เป็นการสอบความรู้ที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย สมเด็จพระ-สังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โปรดให้มีการสอบธรรมสนามหลวง ตามคำแนะนำของแม่กอง-ธรรมสนามหลวง ที่เสนอผ่านมหาเถรสมาคม
การสอบธรรมสนามหลวง ปีการศึกษา ๒๕๕๒ ใช้สนามสอบทั่วประเทศ ๓,๗๘๕ สนาม ซึ่งใช้โรงเรียนเป็นสนามสอบ ๒,๔๔๓ แห่ง วัด ๑,๑๒๙ แห่ง สถานที่ของกรมราชทัณฑ์ ๑๓๔ แห่ง สถาบันอุดมศึกษา ๔๑ แห่ง สถาบันอาชีวศึกษา ๓๓ แห่ง และสถาบันเอกชน ๕ แห่ง
จำนวนนักเรียนธรรมศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นในทุกปี ยังไม่สามารถที่จะกำหนดได้ว่านักเรียนเหล่านี้เป็นผู้มีธรรมาภิบาล ที่สามารถพัฒนาองค์ความรู้ในสาขาวิชาชีพ ควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตของตนตามหลักพุทธธรรม เพราะการเรียนธรรมศึกษาตามหลักสูตรของคณะสงฆ์นั้น เป็นเพียงการเรียนรู้พุทธธรรมขั้นพื้นฐานอันควรแก่การดำเนินชีวิต ผลของการเรียนธรรมศึกษาที่แท้จริง มิได้อยู่ที่ใบประกาศนียบัตร ที่คณะสงฆ์มอบให้นักเรียนผู้สอบได้ตามเกณฑ์ของคณะสงฆ์ แต่อยู่ที่การนำหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ให้เข้ากับการดำเนินชีวิตของตน จนได้รับความสำเร็จในหน้าที่การงาน ดำรงตนให้ดำเนินชีวิตอยู่ใน หลักธรรมาภิบาล ทั้ง ๖ ประการคือ หลักนิติธรรม , หลักคุณธรรม , หลักความโปร่งใส , หลักความมีส่วนร่วม , หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ดำรงตนเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ ศาสนิกชนที่ดีของพระศาสนา และ พสกนิกรผู้เปี่ยมล้นไปด้วยความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช นำให้พสกนิกรผู้จงรักภักดีขวนขวายบำเพ็ญกุศลกิจเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลให้ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็วพลัน มหาเถรสมาคม อันเป็นองค์ปกครองคณะสงฆ์ ได้มีมติให้ทุกวัด เจริญจิตภาวนาถวายเป็นพระราชกุศล ภายหลังการทำวัตรเช้า – เย็น
แม้กระนั้นก็ตาม กาลเวลาที่ทรงประทับรักษาพระอาการที่ยาวนาน ได้ก่อให้เกิดความ อ่อนไหวในจิตใจของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า เป็นเหตุให้พาลชน คนมีกิเลส ได้สร้างสถานการณ์โดยการปล่อยความลือเกี่ยวกับพระองค์ ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดหุ้น และความกังวลใจจนต้องโทรศัพท์ถามความจริงของคนไทยหลายคนทั่วประเทศ นี่คือผลแห่งการขาดธรรมาภิบาลของ คนปล่อยข่าวลือ และการขาดพุทธธรรมในจิตใจของประชาชนที่อ่อนไหวไปกับข่าวลือ
ข่าวลือได้ถูกทำให้สงบระงับไปด้วยกระแสพระดำรัสใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง จุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่รับสังเล่าเรื่องพระอาการประชวรกับข้าราชการและนักเรียนไทย ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำสหพันธรัฐเยอรมัน และด้วยข่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ประทับรถเข็นไฟฟ้าไปยังตึกสยามินทร์ ถวายราชสักการะพระบรมรูปหล่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าอาคาร เนื่องในโอกาสวัน ปิยมหาราช วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๒
สถานการณ์ข่าวลือ อันเป็นการบ่อนทำลายประเทศชาติ เช่นนี้ ทำให้คณะสงฆ์ได้ตระหนักถึงภารธุระในการเผยแผ่พุทธธรรม ให้เจริญงอกงามในกมลสันดานของคนไทย งานสอนธรรมศึกษาจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนมีนักเรียนทั่วประเทศเกือบ ๒ ล้านคน
ในระหว่างวันที่ ๓ – ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นี้ มีภิกษุสามเณรเข้าสอบนักธรรมชั้นโท – เอก จำนวน ๑๗๗,๒๔๘ รูป นักเรียนสอบธรรมศึกษา ๑,๙๐๖,๘๗๓ คน รวมทั้งสิ้น ๒,๐๘๔,๑๒๑ รูป / คน เป็นมงคลกาลแห่งการทดสอบภูมิความรู้พุทธธรรมของนักเรียนที่ได้ศึกษามาตลอดหลักสูตร เป็นมงคลกาลแห่งสามัคคีในการบำเพ็ญกุศลของพุทธบริษัท ที่สนับสนุนการสอบธรรมสนามหลวงให้ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย เป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ที่ผลานิสงส์ดลให้เกิดความวัฒนาสถาพรในประเทศไทย กอปรกับเป็นมงคลกาลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกจาก โรงพยาบาลศิริราช ไปประทับรักษาพระวรกาย ณ ที่ประทับ
เพื่อให้สอบธรรมสนามหลวงครั้งนี้ ได้เป็นมหากุศล จึงขอเชิญชวนให้นักเรียนผู้เข้าสอบธรรมสนามหลวงทุกรูป/คน และพุทธบริษัทที่ร่วมกันดำเนินการสอบธรรมสนามหลวง จงตั้งจิตอธิษฐาน น้อมนำกุศลผลบุญอันพึงมีพึงเป็น น้อมถวายเป็นพระราชกุศล ดลบันดาลให้ พระบาท-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงเจริญพระราชสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลพระชนม-สุขทุกประการ สถิตเป็นมิ่งขวัญปกเกล้าปกกระหม่อมเราทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ.
นี่จึงสมด้วยคำกล่าว ณ เบื้องต้นว่า
“ สองล้านดวงใจ...สอบธรรม...เพื่อในหลวง ”
๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ เวลา ๐๔.๐๐ น.
พิมพ์เผยแผ่ในหนังสือพิมพ์ธงธรรม ฉบับเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒
โพสโดย
phrato
เมื่อ October 30 2009 12:46:53 9911 ครั้ง ·
คะแนน
สามารถให้คะแนนได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น.
โปรดเข้าสู่ระบบก่อนการให้คะแนน.
ยังไม่มีการให้คะแนน.
แสดงผลในเวลา: 0.01 วินาที
143,034,824 ผู้เยี่ยมชม
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง อาคารหอสมุดมหามกุฏราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร
เลขที่ ๒๘๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๖๖๒ ๘๕๘๕ โทรสาร -
ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์
****************************************
เนื้อหาที่ปรากฏในเว็บไซต์นี้ เป็นการจัดข้อมูลตามความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
แสดงปกติในหน้าจอโหมด ๑๐๒๔ x ๗๖๘ โปรแกรม Interner Explorer ทั่วไป
และแสดงปกติในหน้าจอโหมด ๑๐๒๔ x ๗๖๘
โปรแกรม Mozilla FireFox 3.5
ไม่รับรองว่าจะแสดงผลปกติใน web browser อื่น ๆ นอกจากที่กล่าวนี้
สนับสนุนเว็บไซต์โดย:
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
Internet Solution & Service Provider