หน้าแรก
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
รับข้อสอบ ๑
รับข้อสอบ ๒
รับข้อสอบ ๓
ระบบสมัครสอบ
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
October 04 2024 03:46:21
เมนู
หน้าแรก
ใบคำร้องฯ
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๔
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๑
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี ประถม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี มัธยม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี อุดม
รับข้อสอบ ๑
รับข้อสอบ ๒
รับข้อสอบ ๓
ทดสอบสอบความรู้จากข้อสอบธรรมศึกษา 2543-2562
eLearning ธรรมศึกษา
วีดิโอสอนธรรมศึกษา
ระเบียบการจัดสอบ ๒๕๖๐
กระดาษเขียนกระทู้ธรรม ธศ.
สมุดลงนามฯ (สมุดเยี่ยม)
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
บัญชีบรรจุใบตอบปรนัย
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ น.ธ.
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ ธ.ศ.
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน (แบบใหม่ ๒๕๖๑)
วิธีระบายเลขที่สอบ (ธรรมศึกษา)
นักธรรม (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
นักธรรม (ฟอร์มขอแก้ไข)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มขอแก้ไข)
ดาวน์โหลด
ปัญหา-เฉลย นักธรรม ๖๔
ปัญหา-เฉลย น.ธ.-ธ.ศ. ๖๕
สถิติสอบธรรม ๒๕๖๒
อันดับสำนักเรียนสอบได้มาก
ประวัตินักธรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทำเนียบแม่กองธรรม
ทำเนียบผู้บริหารปัจจุบัน
แม่กองธรรมสนามหลวง
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
หนังสือประกอบหลักสูตร
ปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษา
ระเบียบปฏิบัติทั่วไป
กฏกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๘
การขอใบรับรอง
ห้องแสดงภาพ
ห้องสนทนา
บทความ
เว็บลิงค์
คำถามยอดนิยม
ค้นหา
ส่งบทความ
ปฏิทินกิจกรรม
วิดีโอแกลอรี่
เพิ่มวิดีโอ
วีดีทัศน์เกี่ยวกับสอบธรรม 2553
ผู้มีสิทธิสอบ
ฝ่ายธุรการ
รายชื่อรัฐของสหรัฐอเมริกา
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
ติดต่อสำนักเรียน
ทั่วประเทศ
ส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค (ม)
ส่วนภูมิภาค (ธ)
เจ้าคณะตำบล-อำเภอ-จังหวัด
วัดทั่วประเทศ
สถานศึกษาทั่วประเทศ
สนามสอบทั่วประเทศ
สนามสอบนักธรรม ส่วนกลาง
ระเบียบปฏิบัติ
MOU ธรรมศึกษา
คำปราศรัยฯ น.ธ.ตรี
คำปราศรัยฯ น.ธ.โท-เอก
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน
คำอธิบายการฝนใบคำตอบ
ระเบียบการจัดสอบ
กำหนดวันสอบ ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนภูมิภาค ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ภาคผนวก ๒๕๖๗
เล่มสนามสอบ สมัยที่ ๒
วิธีการตรวจข้อสอบนักธรรม
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
สนามหลวง แผนกบาลี
ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย
ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงวัฒนธรรม
กรมการศาสนา
หัวข้อแนะนำ
ดูสถิติการเข้าชมเว็บของคุณ
Youtube Gallery
วิดีโอทั้งหมด
(11)
พระประวัติ และ ประวัติ
(3)
การศึกษาของสงฆ์ไทย
(1)
พิธีเปิดสอบธรรม พ.ศ. 2553
(0)
คู่มือ-เทคนิค-วิธีการ
(7)
วิดีโอล่าสุด
สนง.พระพุทธศาสนาฯ
เลือก
เลือก
เลือก
เลือก
เลือก
เลือก
ชวนเพื่อนมาชมเว็บนี้
อีเมล์คุณ:
ส่งถึงเพื่อน:
คัดลอกสำเนา?
ครบ ๑๕๐ ปี วันประสูติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ๑๔ ก.ย. ๕๒
นิทรรศการ งานครบรอบ ๑๕๐ ปี ในวันประสูติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า องค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับมหาสมณุตมาภิเษก เมื่อ ปี พ.ศ.2434 เมื่อพระชนมายุได้ 82 พรรษา เป็นพระมหาสมณเจ้า ฯ ได้ 10 เดือน ก็สิ้นพระชนมเมื่อปี พ.ศ. 2435 พระชมมายุได้ 83 พรรษา เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใด ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช อีกจนตลอดรัชกาล เป็นเวลา 15 ปี ในระหว่างนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศ ฯ ทรงดำรงพระอิศริยยศ เป็น พระจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ทรงดำรงสมณฐานันดร เป็นที่สองรองจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ข้อมูล
- วันประสูติ 14 กันยายน พ.ศ. 2352
- วันสิ้นพระชนม์ 28 กันยายน พ.ศ. 2435
- พระอิสริยยศ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
- พระบิดา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
- พระมารดา เจ้าจอมมารดาน้อย
- ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
พระประวัติ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระโอรสพระองค์ที่ 18 ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2352 เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ได้ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ และทรงผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา พระองค์ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ สำนักวัดมหาธาตุ ทรงแตกฉานในภาษาบาลี พระนิพนธ์ที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลี คือ พระนิพนธ์เรื่อง สุคตวิทัตถิวิธาน ซึ่งทรงนิพนธ์เป็นภาษาบาลี นอกจากนี้ ยังได้ทรงนิพนธ์เรื่องเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เป็นภาษาบาลีอีกหลายเรื่อง นับว่าพระองค์ทรงเป็นปราชญ์ทางภาษาบาลีที่สำคัญพระองค์หนึ่ง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชาคณะ โดยมีสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะสามัญ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฤกษ์ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย นับว่าทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติพระองค์แรก เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกตลอดรัชกาลรวมเป็นระยะเวลา 15 ปี ในระหว่างนั้น พระองค์ทรงดำรงสมณฐานันดรเป็นที่สอง รองจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระมหาสังฆปรินายก คือ สมเด็จพระสังฆราช
เมื่อปี พ.ศ. 2416 พระองค์ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในปีเดียวกันนี้ ทรงได้รับการโปรดเกล้า ฯ เลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ การที่เลื่อนพระอิศริยยศครั้งนี้ แม้ว่าพระองค์จะไม่ทรงรับถวายมหาสมณุตมาภิเษกในที่สมเด็จพระสังฆราช แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ถวายพระเกียรติยศในทางสมณศักดิ์สูงสุด เท่ากับทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์ ก็ยังมิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชเป็นระยะเวลาถึง 23 ปี จึงได้ทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
ในปี พ.ศ. 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงเจริญพระชนมายุไม่มีพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดในพระบรมราชตระกูลอันนี้ ที่ล่วงลับไปแล้วก็ดี ยังดำรงอยู่ก็ดีที่จะมีพระชนมายุเทียมถึง รวมทั้ง ยังเป็นที่นับถือของคนทั่วไปทั้งฝ่ายคฤหัสถ์และฝ่ายบรรพชิต พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชพิธีมหาสมณุตามาภิเษกเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ (สมเด็จกรมพระยา ในปัจจุบัน) มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
"พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ บวรรังษีสุริยพันธุ์ ปิยพรหมจรรย์ธรรมวรยุต ปฏิบัติสุทธคณนายก ธรรมนิติสาธกปวรัยยะบรรพชิต สรรพธรรมิกกิจโกศล สุวิมลปรีชา ปัญญาอรรคมหาสมณุดม บรมพงษาธิบดี จักรกรีบรมนารถ มหาเสนานุรักษ์อนุราชวรางกูร ปรมินทรบดินทรสูรย์หิโตปัธยาจารย์ มโหฬารเมตยาภิธยาไศรย ไตรปิฎกโหรกลาโกศล เบญจปดลเสวตรฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาสมณุตมาภิเศกาภิสิต ปรมุกฤษฐสมณศักดิธำรง มหาสงฆปรินายก พุทธสาสนดิลกโลกุตมมหาบัณฑิตย์ สุนทรวิจิตรปฏิภาณ ไวยัตติยญาณมหากระวี พุทธาทิศรีรัตนไตรคุณารักษ์ เอกอรรคมหาอนาคารินรัตน สยามาขิโลกยปฏิพัทธพุทธปริสัษยเนตร สมณคณินทราธิเบศรสกลพุทธจักโรปการกิจ สฤษดิศุภการ มหาปาดมกษประธานวโรดม บรมนารถบพิตร"
ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า การเรียกพระนามพระบรมราชวงศ์ซึ่งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระประมุขแห่งสังฆมณฑลแต่เดิมนั้นเรียกตามพระอิสริยยศแห่งพระบรมราชวงศ์ ไม่ได้เรียกตามสมณศักดิ์ของพระประมุขแห่งสังฆมณฑล คือ "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ" หรือที่เรียกอย่างย่อว่า "สมเด็จพระสังฆราช" พระองค์จึงเปลี่ยนคำนำพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ซึ่งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระประมุขแห่งสังฆมณฑลว่า "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า" เพื่อให้ปรากฏพระนามในส่วนสมณศักดิ์ด้วย ดังนั้น จึงเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์"
พระองค์ทรงพระประชวรด้วยพระโรคชราและสิ้นพระชนมเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2435 พระชมมายุได้ 83 พรรษา 13 วัน ทรงผนวชเป็นพระภิกษุได้ 64 พรรษา
พระปรีชาสามารถ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ นอกจากจะเป็นปราชญ์ทางภาษาบาลีแล้ว ยังทรงมีพระปรีชาสามารถ ในด้านต่าง ๆ พอประมวลได้ดังนี้ คือ
- ด้านสถาปัตยกรรม ทรง ออกแบบพระปฐมเจดีย์ องค์ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2396
- ด้านโบราณคดี ทรงเป็นนักอ่านศิลาจารึกรุ่นแรกของไทยได้ศึกษาและรวบรวมจารึกต่าง ๆ ในประเทศไทยไว้มาก และได้ ทรงอ่านจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 ที่เป็นอักษรขอม เป็นพระองค์แรก
- ด้านประวัติศาสตร์ ทรงนิพนธ์ลิลิตพงศาวดารเหนือ เรื่องพระปฐมเจดีย์ และพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เป็นต้น
- ด้านดาราศาสตร์ ทรงพระนิพนธ์ ตำราปักขคณนา (คำนวณปฏิทินทางจันทรคติ) ไว้อย่างพิสดาร
- ด้านวิทยาศาสตร์ ทรงบันทึกจำนวนฝนตกเป็นรายวัน ติดต่อกันเป็นเวลาถึง 45 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2389 ถึงปี พ.ศ. 2433 เพื่อเป็นการเก็บสถิติน้ำฝนในประเทศไทย เรียกบันทึกนี้ว่า จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝน
- ด้านกวี ทรงพระนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาบาลี ไว้เป็นจำนวนมาก ที่เป็นภาษาไทย ทรงนิพนธ์ไว้จำนวนมาก เช่น ได้ลงพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ กาพย์เสด็จนครศรีธรรมราช ลิลิตพงศาวดารเหนือ เป็นต้น
- ด้านพระศาสนา ทรงเป็นองค์ประธานชำระและแปลพระไตรปิฎก พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ทรงกำหนดพระราชบัญญัติ และประกาศคณะสงฆ์ต่าง ๆ ทรงให้กำเนิดพระกริ่งในประเทศไทย ทรงสร้างพระกริ่งที่เรียกกันว่า พระกริ่งปวเรศ ซึ่งเป็นต้นแบบของพระกริ่ง ในยุคต่อมาของไทย
ในวาระที่ครบรอบ ๒๐๐ ปี
ในวาระที่ครบรอบ ๒๐๐ ปี ในวันประสูติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ องค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จัดนิทรรศการพระราชประวัติ ณ ตำหนักล่าง วัดบวรนิเวศน์วิหาร ระหว่าง วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๒ - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๓๐ นาฬิกา ไม่เว้นวันหยุดราชการ
อ้างอิง :
พระประวัติ
และ
วัดบวรนิเวศวิหาร
และ
อ่านต่อ
...
ม.มมร.
...' target='_blank'>ม.มมร.
โพสโดย
webmaster
เมื่อ September 18 2009 18:37:58 10235 ครั้ง ·
คะแนน
สามารถให้คะแนนได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น.
โปรดเข้าสู่ระบบก่อนการให้คะแนน.
ยังไม่มีการให้คะแนน.
แสดงผลในเวลา: 0.00 วินาที
134,647,783 ผู้เยี่ยมชม
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง อาคารหอสมุดมหามกุฏราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร
เลขที่ ๒๘๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๖๖๒ ๘๕๘๕ โทรสาร ๐ ๒๖๒๙ ๒๑๔๒
ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์
****************************************
เนื้อหาที่ปรากฏในเว็บไซต์นี้ เป็นการจัดข้อมูลตามความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
แสดงปกติในหน้าจอโหมด ๑๐๒๔ x ๗๖๘ โปรแกรม Interner Explorer ทั่วไป
และแสดงปกติในหน้าจอโหมด ๑๐๒๔ x ๗๖๘
โปรแกรม Mozilla FireFox 3.5
ไม่รับรองว่าจะแสดงผลปกติใน web browser อื่น ๆ นอกจากที่กล่าวนี้
สนับสนุนเว็บไซต์โดย:
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
Internet Solution & Service Provider