September 09 2024 18:59:21
เมนู
หน้าแรก
ใบคำร้องฯ
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๔
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๑
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี ประถม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี มัธยม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี อุดม
รับข้อสอบ ๑
รับข้อสอบ ๒
รับข้อสอบ ๓
ทดสอบสอบความรู้จากข้อสอบธรรมศึกษา 2543-2562
eLearning ธรรมศึกษา
วีดิโอสอนธรรมศึกษา
ระเบียบการจัดสอบ ๒๕๖๐
กระดาษเขียนกระทู้ธรรม ธศ.
สมุดลงนามฯ (สมุดเยี่ยม)
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
บัญชีบรรจุใบตอบปรนัย
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ น.ธ.
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ ธ.ศ.
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน (แบบใหม่ ๒๕๖๑)
วิธีระบายเลขที่สอบ (ธรรมศึกษา)
นักธรรม (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
นักธรรม (ฟอร์มขอแก้ไข)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มขอแก้ไข)
ดาวน์โหลด
ปัญหา-เฉลย นักธรรม ๖๔
ปัญหา-เฉลย น.ธ.-ธ.ศ. ๖๕
สถิติสอบธรรม ๒๕๖๒
อันดับสำนักเรียนสอบได้มาก

ประวัตินักธรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทำเนียบแม่กองธรรม
ทำเนียบผู้บริหารปัจจุบัน
แม่กองธรรมสนามหลวง
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
หนังสือประกอบหลักสูตร
ปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษา
ระเบียบปฏิบัติทั่วไป
กฏกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๘

การขอใบรับรอง

ห้องแสดงภาพ
ห้องสนทนา
บทความ
เว็บลิงค์
คำถามยอดนิยม
ค้นหา

ส่งบทความ
ปฏิทินกิจกรรม

วิดีโอแกลอรี่
เพิ่มวิดีโอ
วีดีทัศน์เกี่ยวกับสอบธรรม 2553
ผู้มีสิทธิสอบ
ฝ่ายธุรการ
รายชื่อรัฐของสหรัฐอเมริกา
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
ติดต่อสำนักเรียน
ทั่วประเทศ
ส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค (ม)
ส่วนภูมิภาค (ธ)

เจ้าคณะตำบล-อำเภอ-จังหวัด
วัดทั่วประเทศ
สถานศึกษาทั่วประเทศ

สนามสอบทั่วประเทศ
สนามสอบนักธรรม ส่วนกลาง
ระเบียบปฏิบัติ
MOU ธรรมศึกษา
คำปราศรัยฯ น.ธ.ตรี
คำปราศรัยฯ น.ธ.โท-เอก
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ

ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน
คำอธิบายการฝนใบคำตอบ

ระเบียบการจัดสอบ
กำหนดวันสอบ ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนภูมิภาค ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ๒๕๖๗
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ภาคผนวก ๒๕๖๗
เล่มสนามสอบ สมัยที่ ๒

วิธีการตรวจข้อสอบนักธรรม
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
สนามหลวง แผนกบาลี
ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย
ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงวัฒนธรรม
กรมการศาสนา
หัวข้อแนะนำ
พระมหาสมณเจ้าฯ

งานฉลอง ๙๗ พระชันษา

ดูสถิติการเข้าชมเว็บของคุณ
Youtube Gallery
   วิดีโอทั้งหมด (11)
   พระประวัติ และ ประวัติ (3)
   การศึกษาของสงฆ์ไทย (1)
   พิธีเปิดสอบธรรม พ.ศ. 2553 (0)
   คู่มือ-เทคนิค-วิธีการ (7)
วิดีโอล่าสุด
video

video

สนง.พระพุทธศาสนาฯ



ชวนเพื่อนมาชมเว็บนี้

อีเมล์คุณ:
ส่งถึงเพื่อน:
คัดลอกสำเนา?
ครบทสวรรษการจัดการสอนธรรมศึกษาของวัดป่าสำราญจิต จ.ชัยภูมิ

ครบทสวรรษการจัดการสอนธรรมศึกษาวัดป่าสำราญจิต จ.ชัยภูมิ


วัดป่าสำราญจิต ต.บ้านชวน อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ เป็นวัดหนึ่่งที่ได้จัดการศึกษาแผนกธรรมเพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้เข้าสอบนักธรรมในทุกปีตามหลักสูตรของแม่กองธรรมสนามหลวง นอกจากนั้น ยังเป็นวัดหนึ่งที่มีการจัดการศึกษาสำหรับฝ่ายฆราวาสและส่งเข้าสอบธรรมศึกษา ในอดีต การส่งผู้เข้าสอบธรรมศึกษาในแต่ละปีมีจำนวนไม่แน่นอน มีผู้สมัครสอบเป็นลูกศิษย์วัดบ้าง ลูกหลานของชาวบ้านในพื้นบ้าง จำนวนไม่แน่นอน แต่ก็มีผู้เข้าสอบในลักษณะนี้เรื่อยมา แม้จะเคยมีการเข้าสอบจำนวนมากในอดีต แต่ก็เป็นช่วงสั้น ๆ ประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๒ วัดป่าสำราญจิตได้ร่วมมือกับคณะครูเปิดเป็นโรงเรียนสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (ขณะนั้น ผู้บันทึกข้อมูลยังเป็นสามเณรน้อยอยู่ที่วัดป่าสำราญจิต) โดยนำนักเรียนที่มาเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่วัดป่าสำราญจิต (นักเรียนในขณะนั้น เท่าที่จำได้เป็นนักเีรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม) ให้สมัครเข้าสอบธรรมศึกษาด้วย การดำเนินการในรูปแบบโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ได้ดำเนินกาต่อมาอีกไม่กี่ปี ก็เป็นอันหยุดไป จะด้วยสาเหตุใดไม่ทราบได้ การสอบธรรมศึกษาแบบจำนวนมากที่นี่ จึงหายไปด้วย


การสอนธรรมศึกษาที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดป่าสำราญจิต เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓
และในปีต่อ ๆ มาที่มีเรียนที่วัดป่าสำราญจิต

ต่อมา พ.ศ. ๒๕๔๓ ท่านหลวงพ่อ พระครูอนุรักษ์วัฒนกิจ (หลวงพ่อน้อย ตนฺติปาโล) เจ้าอาวาสวัดป่าสำราญจิตและเจ้าคณะอำเภอบำเหน็จณรงค์ (ธรรมยุต) ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลบ้านชวน (ธรรมยุต) ได้ร่วมมือกับโรงเรียนในพื้นที่ส่งบุคลลากรและนักเรียนเข้าสอบธรรมศึกษาด้วย โดยลักษณะการจัดเบื้องต้น เริ่มต้นดังนี้

เบื้องต้น (พ.ศ.๒๕๔๓) ได้ขอร่วมมือไปยังโรงเรียนชุมชนชวนวิทยา โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม และวิทยาลัยการอาชีพบำเหน็จณรงค์ อันเป็นสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับวัดป่าสำราญจิต เข้ามาเรียนที่วัดในวันเสาร์ - อาทิตย์ จากความร่วมมือในเบื้องต้น สถานศึกษาทั้งสามไ้ด้ส่งนักเรียนในสังกัดของตนสมัครเข้าอบรมและสมัครสอบในจำนวนมากพอสมควร ยกเว้น วิทยาลัยการอาชีพบำเหน็จณรงค์ที่มีผู้เข้าอบรมจำนวนไม่มากนัก (วิทยาลัยการอาชีพฯ มีอาจารย์สอนท่านหนึ่ง ชื่อ อ.ประจวบ บึงไสย์ มาสมัครสอบและเข้าอบรมทุกเสาร์ - อาทิตย์ และเข้าสอบต่อเนื่องจนจบธรรมศึกษาเอก) สนามสอบที่ใช้ในครั้งนั้น ทางวัดได้ขอใช้สถานที่ของโรงเรียนชุมชนชวนวิทยา ภายใต้การสนับสนุนของ ผอ.พุทธิวิจักข์ พกกลาง ผอ.โรงเรียนชุมชนชวนวิทยาในขณะนั้น (พ.ศ.๒๕๕๑ ย้ายมามาเป็น ผอ.โรงเรียนจัตุรัสวิทยานุกูล อ.จัตุรัส) และคณะครูในโรงเรียนชุมชนชวนวิทยาทุกท่านเป็นอย่างดี ทั้งในการให้ใช้สถานที่เป็นสนามสอบและสนับสนุนนักเรียนเข้าสอบ ในขณะที่โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม ผู้ติดต่อประสานงานกับทางวัดป่าสำราญจิต คือ อ.ประดิษฐ์ เกิดสิน หัวหน้าหมวดสังคมศึกษา และอาจารย์อดุลย์ จันทาทุม และคณะครูในหมวดสังคม เป็นผู้ประสานงานการนำนักเรียนมาสอบ พระวิทยากรประสานในขณะนั้น เป็นพระวิทยากรที่มาจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาปฏิบัติงานที่บ้านเกิดของตนที่วัดป่าสำราญจิตได้ริเริ่มประสานงานดำเนินงาน โดยร่วมมือกับพระมหานคร สจฺจญาโณ (คิดถาง) เลขานุการเจ้าคณะอำเภอบำเหน็จณรงค์ (ธรรมยุต) วัดป่าสำราญจิต ร่วมกันทำงานประสานมาจนถึงปัจจุบันนี้

การจัดในปีแรกนั้น ได้ขอความร่วมมือจากผู้ใจบุญซึ่งเป็นญาติโยมของวัดป่าสำราญจิต ได้มาช่วยกันเลี้ยงนักเรียนในทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ตลอดการเรียนการสอน ในแต่ละเสาร์-อาทิตย์ จึงเต็มไปด้วยบรรยากาศที่เป็นบุญเป็นกุศลที่ได้ร่วมกันดำเนินงาน มีญาติโยมได้สลับกันมาเลี้ยงนักเรียนตลอด


ผู้ปกครองมาเลี้ยงนักเรียนธรรมศึกษาตลอดช่วงที่มีการเรียนการสอน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓

ในปีต่อ ๆ มา ก็ยังมีการอบรมในลักษณะนี้อยู่ และต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นวิธีการเข้าไปอบรมก่อนสอบแทนการสอนในวันเสาร์ - อาทิตย์ เหมือนเดิม โดยในปีต่อ ๆ มานั้น เมื่่อถึงคราวก่อนสอบจะมีพระวิทยากรจากกรุงเทพมหานคร และพระวิทยากรในพื้นที่ที่ท่านมีความสามารถ เดินทางมาช่วยอบรมนักเรียนก่อนสอบธรรมศึกษามาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากจะมีเฉพาะนักเรียนสมัครเข้าสอบแล้ว ในโรงเรียนชุมชนชวนวิทยามีคณะครูนำโดย ผอ.พุทธิวิจักข์ พกกลาง และคณะครูได้เข้าสอบด้วย จนถึงบัดนี้ ครูในโรงเรียนชุมชนชวนวิทยาได้จบธรรมศึกษาเอกไปหลายท่าน ยกเว้น ครูที่ย้ายเข้ามาใหม่ในระยะหลัง

การดำเนินงานดังกล่าวได้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ภายใต้การประสานงานกันของวัดป่าสำราญจิตและสถานศึกษา มีผู้สอบผ่านธรรมศึกษาในจำนวนที่มาุกขึ้น ทั้งการประสานงานและการดำเนินงานเกี่ยวกับการสมัครสอบ การอบรม และการสอบ ได้เริ่มประสานงานได้สนิทยิ่งขึ้น เพราะครูของทั้งสองโรงเรียนเข้ามามีบทบาทช่วยงานคณะสงฆ์มากขึ้น ทั้งในการอบรม การจัดสนามสอบ และการควบคุมห้องสอบ ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากครูของสองสถานศึกษา



การอบรมก่อนสอบธรรมศึกษาที่ดำเนินการร่วมกับโรงเรียนชุมชนชวนวิทยาในปีต่อ ๆ มา



บรรยาการสอบธรรมศึกษาที่โรงเรียนชุมชนชนชวนวิทยา พ.ศ. ๒๕๕๑



ทุกปีเมื่อถึงคราวสอบ คณะครูโรงเรียนชุมชนชวนวิทยา
และครูจากโรงเรียนที่ส่งนักเรียนเข้าสอบ
จะรับภาระงานสอบธรรมศึกษาช่วยงานคณะสงฆ์อย่างแข็งขัน
เป็นภาพที่เห็นมาตลอดที่จัดการสอบ

และต่อมา มีสถานศึกษาที่เข้ามาร่วมอีกหนึ่งแห่ง คือ โรงเรียนเริงรมย์วิทยาคม ตำบลโคกเริงรมย์ อำเภอบำเหน็จณรงค์ โดยการประสานงานของ อ.มุกดา เกิดสิน หมวดสังคม เป็นผู้ประสานงาน ภายใต้การสนับสนุนของผู้อำนวยการโรงเรียนเริงรมย์วิทยาคมและคณะครูด้วยดี ทางโรงเรียนได้ร่วมมือดีมาก ๆ โดยโรงเีรียนได้ส่งนักเรียนเข้าสอบทั้งโรงเรียน สนับสนุนการอบรม การสอบ วัดป่าสำราญจิตได้ขอเปิดสนามสอบไปที่สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง และได้รับอนุมัติให้โรงเรียนเริงรมย์วิทยาคมเป็นสนามสอบในการดูแลของสำนักงานเจ้าคณะอำเภอบำเหน็จณรงค์ (ธรรมยุต) และดำเนินการสอบที่โรงเรียนเิริงรมย์ิวิทยามาแต่ต้นที่เ้ข้าร่วม แต่เป็นที่น่าเสียดาย เนื่องจากพระวิทยากรที่จะไปอบรมในระยะหลังน้อยลง ทำให้การสอนที่โรงเรียนแห่งนี้ดำเนินการไปได้เพียง ๔ ปี เท่านั้น ก็ไม่สามารถไปอบรมก่อนสอบให้ต่อได้ เพราะต้องใช้พระวิทยากรไปอบรมที่สองโรงเรียนเดิม พระวิทยากรไม่เพียงพอที่จะไปอบรมต่อ

ดังกล่าวข้างต้นว่า ทางวัดป่าสำราญจิตได้ขอใช้สถานที่ของโรงเรียนชุมชนชวนวิทยาเป็นสนามสอบของวัดป่าสำราญจิต ทางโรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคมมีนักเรียนเข้าสอบจำนวนมาก ไม่สะดวกต่อการจัดสถานที่และการนำนักเรียนมาสอบ ใน พ.ศ. ๒๕๔๘ ทางโรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม ได้ทำหนังสือขอเปิดสนามสอบไปยังสำันักงานเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ (ธรรมยุต) เพื่อขอให้้ดำเนินการขอเปิดสนามสอบใหม่ที่โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม กับทางสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง และก็ได้รับการอนุมัติให้เปิดเป็นสนามสอบได้ สนามสอบธรรมศึกษา "โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม" จึงแยกมาสอบที่โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม ในการดูแลของสำนักงานเจ้าคณะอำเภอบำเหน็จณรงค์ (ธรรมยุต) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นมา


การอบรมก่อนสอบธรรมศึกษาที่ดำเนินการร่วมกับโรงเรียนบำเหน็จณรงค์ิวิทยาคมในปีต่อ ๆ มา



การเปิดสอบและสอบธรรมศึกษา สนามสอบ โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยา
ดำเนินการโดยวัดป่าสำราญจิตร่วมมือกับโรงเรียน
การสนับสนุน การจัดห้องสอบ การควบคุมห้องสอบ
ได้รับความช่วยเหลือจากโรงเรียนส่งบุคคลากรเข้ารับภาระช่วยเป็นอย่างดี

การดำเนินการอบรมก่อนสอบ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในระยะหลังถึงปัจจุบันนั้น ได้ดำเนินการโดยไม่ยึดติดในเรื่องพระวิทยากรว่าเป็นเป็นมหานิกายหรือธรรมยุต เป็นการอบรมโดยความร่วมมือกันของพระวิทยากรของทั้งสองนิกายที่มาช่วยงานกัน ผู้ประสานงานได้นิมนต์พระวิทยากรไม่ว่าจะทางกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด จะเป็นพระวิทยากรจากทั้งสองนิกายมาช่วยกันอบรม เพราะมุ่งไปที่ประโยชน์ด้านการสื่อธรรมะถึงประชาชนเป็นสำคัญในการทำงานนี้ พระิวิทยากรที่มีบทบาทสำคัญช่วยอบรมมาตลอดในระยะหลัง คือ พระมหาธนรัตน์ คุตฺตวํโส (พรามจร) วัดทรงธรรม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ แม้ว่าปฏิบัติงานด้านเลขานุการเจ้าคณะอำเภออยู่ที่นั่น แต่หากมีเวลาก็จะมาช่วยอบรมตลอด นอกจากนี้ ยังมีพระวิทยากรจากวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ และวัดอื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ประสานงานได้นิมนต์มาช่วยงานด้วย บางคราว การอบรมไม่จำกัดอยู่เฉพาะพระวิทยากรเท่านั้น บางปีก็ได้ขอให้ผู้สอบผ่านแล้ว เช่น ครูที่จบธรรมศึกษาเอกแล้ว หรือ บุคคลากรที่ำชำนาญการภายนอกอื่น ๆ เป็นต้น เข้ามาช่วยอบรม ทั้งการทำงานจะเน้นไปที่สถานศึกษาที่ยังไม่ผู้ดำเนินการ

ในการทำงานนี้ หากสถานศึกษาใดจะเข้ามาร่วมมาสมัครสอบ แต่สถานศึกษานั้น ๆ อยู่ในเขตของวัดอื่นที่พระวิทยากรจะดำเนินการได้ ก็จะขอให้ไปติดต่อกับวัดนั้น ๆ เพื่อกระจายงานออกไปให้มากในเรื่องนี้ เพราะการมีพระวิทยากรช่วยกันในจุดอื่น ๆ ก็จะเป็นการดีที่จะนำธรรมะสู่ประชาชาชนได้มากขึ้น จุดประสงค์ เป็นการทำงานที่ไม่เน้นปริมาณและสร้างผลงานด้วยปริมาณ แ่ต่เน้นคุณภาพของผู้สอบผ่านและความประพฤติที่จะได้จากการอบรม และให้เคารพต่อพระวิทยากรในเขตอื่น ๆ ที่ท่่านได้ทำอยู่่แล้ว หรือท่านมีศักยภาพที่จะดำนินการได้ในเขตนั้น ๆ ในการสอบแต่ละปี แม้จะมีผู้เข้าสอบจำนวนมาก แต่ผู้สอบไม่ผ่านก็มีจำนวนมากเช่นเดียวกัน แต่ดั่งที่กล่าวในเบื้องต้นแล้วว่า เป็นการทำงานเน้นคุณภาพ ไม่เน้นปริมาณการสอบได้ แต่เน้นถึงสิ่งที่นักเรียนผู้สมัครสอบจะได้ธรรมะจากเรื่องนี้เป็นสำคัญ



บรรยากาศการสอนที่โรงเรียนบ้านห้วย อ.จัตุรัส


บรรยากาศการอบรมก่อนสอบโรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม


ในส่วนของสนามสอบ วัดป่าสำราญจิต ซึ่งเป็นสนามสอบเดิม ยังขอใช้สถานที่ของโรงเรียนชุมชนชวนวิทยามาต่อเนื่อง มีโรงเรียนอีกหลายโรงเรียนได้สมัครเข้ามาสอบเพิ่มเติม คือ โรงเรียนบ้านห้วย อำเภอจัตุรัส และโรงเรียนบ้านโป่งเกต อำเภอซับใหญ่ เพราะสถานที่สอบใกล้กับสถานศึกษา เป็นการสะดวกที่จะนำนักเรียนมาสอบที่วัดป่าสำราญจิต

การดำเนินการในปีต่อ ๆ มานั้น ได้มีการจัดทำเอกสารการอบรมเป็นเรื่องเป็นราว เพื่อใช้ในการอบรมของสองโรงเรียน คือ โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม และ โรงเรียนชุมชนชวนวิทยา ทั้งเอกสารดังกล่าวได้กระจายไปยังสถานศึกษาอื่น ๆ ที่ส่งนักเรียนเข้าอบรมด้วย กานจัดทำเอกสารขึ้นนี้ เป็นลักษณะการให้ยืม เมื่อสอบเสร็จก็คืนเอกสารมาเก็บไว้ (งบประมาณการจัดทำเอกสารหมดไปประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท เพราะจัดทำขึ้นต่อเนื่องทุก ๆ ปี) รวมทั้ง หากมีการแจกหนังสือเหล่านี้ในส่วนงานของคณะสงฆ์ใด ก็จะพยายามทำหนังสือขอมาเก็บไว้ให้มากที่สุด การดำเนินงานลักษณะนี้ได้เริ่มเข้าระบบแล้ว เนื่องเพราะการทำงานไม่ใช่แค่ปีสองปี แต่ทำงานมาอย่างเป็นระบบ นักเรียนทีอยู่ในระบบการอบรมมีความสนิทสนมไม่ห่างวัด จุดประสงค์การดำเนินงานเริ่มปรากฏขึ้น ระหว่างการทำงานแต่ละปี มีนักเรียนที่จบไปในแต่ละรุ่น (ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๓) แม้จะไปเรียนอยู่ในระดับมัธยมแล้ว เข้ามาช่วยงานเอกสารตลอด

เป็นดั่งได้กล่าวในเบื้องต้นแล้วว่า การทำงานประสานกันของพระวิทยากรในการทำงานนี้ชี้จุดมุ่งหมายในการทำงานการเผยแพร่ธรรมะเป็นสำคัญ ในระหว่างทำงานนี้ ได้ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างวัดและโรงเรียนได้ดีมาก เด็กในพื้นที่มีโอกาสได้เรียนธรรมะกับพระอาจารย์ที่มาอบรมสื่อความรู้สึกที่ดีไปถึงผู้ปกครองในการไม่ห่างวัด สมกับคำว่า "บวร" หมายถึง "บ้าน วัด โรงเรียน" ได้เป็นอย่างดี

นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๓ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๒ นี้ การดำเนินงานเกี่ยวกับการสอบธรรมศึกษานี้ ได้ดำเนินการผ่านมาแล้ว นับเป็นปีที่ ๑๐ แล้ว ถือว่าเป็นเวลาที่ยาวนานพอสมควร มีผู้สอบผ่านธรรมศึกษาในสังกัดของวัดป่าสำราญจิตเกือบ ๖,๐๐๐ คน นับว่ามีจำนวนมาก

ปัจจุบันนี้ วัดป่าสำราญจิตและเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอบำเหน็จณรงค์ (ธรรมยุต) มีสนามสอบที่แม่กองธรรมสนามหลวง อนุญาตให้เป็นสนามสอบธรรมศึกษาได้ (เฉพาะที่ดำเนินการ) จำนวน ๒ สนามสอบ คือ

๑. สนามสอบ วัดป่าสำราญจิต อำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็นสถานที่สอบของบุคคลากรและนักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ และบุคคลทั่วไปที่สมัครเข้าสอบ

๒ สนามสอบ โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม อำเภอบำเหน็จณรงค์ (โรงเรียนได้ดำเนินการขอเปิดเป็นสนามสอบธรรมศึกษาครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๘) เป็นสถานที่สอบเฉพาะของบุคคลากรและนักเรียนโรงเรียนบำเหน็จณณรงค์วิทยาคม

อ้างอิง : ครบ ๑๐ ปี การจัดการการสอนธรรมศึกษาของสำนักศาสนศึกษา วัดป่าสำราญจิต อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ

หมายเหตุ : สำนักศาสนศึกษาใดได้จัดรูปแบบไว้แล้วต้องการจัดลงเว็บ เชิญส่งได้ที่ [email protected]
คะแนน
สามารถให้คะแนนได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น.

โปรดเข้าสู่ระบบก่อนการให้คะแนน.

ยังไม่มีการให้คะแนน.
แสดงผลในเวลา: 0.01 วินาที 131,510,862 ผู้เยี่ยมชม