March 29 2024 13:47:32
เมนู
หน้าแรก
ใบคำร้องฯ
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๔
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๑
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี ประถม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี มัธยม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี อุดม
ทดสอบสอบความรู้จากข้อสอบธรรมศึกษา 2543-2562
eLearning ธรรมศึกษา
วีดิโอสอนธรรมศึกษา
ระเบียบการจัดสอบ ๒๕๖๐
กระดาษเขียนกระทู้ธรรม ธศ.
สมุดลงนามฯ (สมุดเยี่ยม)
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
บัญชีบรรจุใบตอบปรนัย
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ น.ธ.
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ ธ.ศ.
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน (แบบใหม่ ๒๕๖๑)
วิธีระบายเลขที่สอบ (ธรรมศึกษา)
นักธรรม (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
นักธรรม (ฟอร์มขอแก้ไข)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มขอแก้ไข)
ดาวน์โหลด
ปัญหา-เฉลย นักธรรม ๖๔
ปัญหา-เฉลย น.ธ.-ธ.ศ. ๖๕
สถิติสอบธรรม ๒๕๖๒
อันดับสำนักเรียนสอบได้มาก

ประวัตินักธรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทำเนียบแม่กองธรรม
ทำเนียบผู้บริหารปัจจุบัน
แม่กองธรรมสนามหลวง
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
หนังสือประกอบหลักสูตร
ปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษา
ระเบียบปฏิบัติทั่วไป
กฏกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๘

การขอใบรับรอง

ห้องแสดงภาพ
ห้องสนทนา
บทความ
เว็บลิงค์
คำถามยอดนิยม
ค้นหา

ส่งบทความ
ปฏิทินกิจกรรม

วิดีโอแกลอรี่
เพิ่มวิดีโอ
วีดีทัศน์เกี่ยวกับสอบธรรม 2553
ผู้มีสิทธิสอบ
ฝ่ายธุรการ
รายชื่อรัฐของสหรัฐอเมริกา
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
ติดต่อสำนักเรียน
ทั่วประเทศ
ส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค (ม)
ส่วนภูมิภาค (ธ)

เจ้าคณะตำบล-อำเภอ-จังหวัด
วัดทั่วประเทศ
สถานศึกษาทั่วประเทศ

สนามสอบทั่วประเทศ
สนามสอบนักธรรม ส่วนกลาง
ระเบียบปฏิบัติ
MOU ธรรมศึกษา
คำปราศรัยฯ น.ธ.ตรี
คำปราศรัยฯ น.ธ.โท-เอก
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ

ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน
คำอธิบายการฝนใบคำตอบ

ระเบียบการจัดสอบ
กำหนดวันสอบ ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนภูมิภาค ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ภาคผนวก ๒๕๖๖
เล่มสนามสอบ สมัยที่ ๒

วิธีการตรวจข้อสอบนักธรรม
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
สนามหลวง แผนกบาลี
ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย
ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงวัฒนธรรม
กรมการศาสนา
หัวข้อแนะนำ
พระมหาสมณเจ้าฯ

งานฉลอง ๙๗ พระชันษา

ดูสถิติการเข้าชมเว็บของคุณ
Youtube Gallery
   วิดีโอทั้งหมด (11)
   พระประวัติ และ ประวัติ (3)
   การศึกษาของสงฆ์ไทย (1)
   พิธีเปิดสอบธรรม พ.ศ. 2553 (0)
   คู่มือ-เทคนิค-วิธีการ (7)
วิดีโอล่าสุด
video

video

สนง.พระพุทธศาสนาฯ



ชวนเพื่อนมาชมเว็บนี้

อีเมล์คุณ:
ส่งถึงเพื่อน:
คัดลอกสำเนา?
ศรีวิชัยปลุกจิตสำนึก นำ น.ศ.ทำบุญเข้าพรรษา
ศรีวิชัยปลุกจิตสำนึก นำ น.ศ.ทำบุญเข้าพรรษา


ในวิถีชีวิตของคนไทยจะมีประเพณีและวันสำคัญมากมายในทุกปี

สำหรับเดือนกรกฎาคมก็จะมีวันสำคัญทางพุทธศาสนาอยู่ถึง 2 วัน คือ วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา

ทั้ง 2 วันนี้จะเป็นวันที่ชาวพุทธจะได้ร่วมกันทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน และเวียนเทียน

ผศ.อุไรวรรณ สุภานินิตย์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) เล็งเห็นความสำคัญทางพุทธศาสนา และต้องการปลุกจิตสำนึกที่ดีให้กับนักศึกษา

ด้วยความเชื่อที่ว่าการสืบสานประเพณีไทยจะต้องเริ่มจากการปลูกฝังและพยายามให้นักศึกษายึดถือปฏิบัติเป็นหน้าที่ ซึ่งทุกวันนี้แทบจะสูญหายไป เพราะมีสิ่งยั่วยุมากมายเกิดขึ้นในสังคม หากไม่รีบสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับนักศึกษา ประเพณีไทยคงไม่มีหลงเหลือให้เห็นอีกต่อไป

อ.อดิศักดิ์ จิตภูษา อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ หัวหน้าในการจัดกิจกรรม ซึ่งมีแนวคิดในการปลูกจิตสำนึกให้นักศึกษาหันมาสนใจประเพณีไทย ให้ความเห็นว่า มองสภาพสังคมในปัจจุบันน่าตกใจอย่างมาก ด้วยความก้าวหน้า และความทันสมัย ที่เยาวชนในยุคปัจจุบันเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว แต่สำหรับวันสำคัญทางศาสนากลับค่อยๆ เลือนรางไปจากความคิดของเยาวชนสมัยใหม่

ทางคณะศิลปศาสตร์จึงจัดกิจกรรมวันเข้าพรรษาขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกๆ ปี แต่ในปีนี้แตกต่างจากปีที่ผ่านมา เพราะได้เลือกที่จะเดินทางไปยังวัดคงคาสวัสดิ์ ต.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองประมาณ 44 ก.ม.

"เส้นทางในการเดินทางหากใครได้ติดตามข่าวอาจทราบดีว่าเส้นทางดังกล่าวตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สีแดง นั้นคือมีความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน โดยมีนักศึกษาอาสาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 150 คน ด้วยความมุ่งมั่นและความตั้งใจของคณาจารย์และนักศึกษา บวกกับความร่วมมือของชาวบ้านที่คอยดูแลเป็นอย่างดี จึงทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่น"

อ.อดิศักดิ์กล่าวต่อไปอีกว่า จริงๆ การทำบุญไม่จำเป็นต้องเลือกวัด สามารถทำบุญได้เหมือนกัน ถ้าจิตใจสงบ และมีความตั้งใจจริง แต่อีกมุมมองหนึ่งในการตัดสินใจพานักศึกษากว่า 150 คนไปทำกิจกรรมซึ่งอยู่ห่างไกลจากตัว อ.เมือง ก็คือวัดที่อยู่ห่างไกล ค่อนข้างขาดแคลน โดยเฉพาะวัดคงคาสวัสดิ์ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สีแดง จึงทำให้ผู้คนค่อนข้างกลัวไม่กล้าเข้าไปทำบุญ จะมีก็แต่ชาวบ้านในละแวกใกล้ๆ ในชุมชนเท่านั้น

"ในความเป็นจริงแล้วการไปวัดคงคาสวัสดิ์ที่อยู่ในพื้นที่สีแดงนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่สิ่งที่ได้รับเมื่อเดินทางไปถึงคือความอบอุ่น มิตร ไมตรีที่ได้รับจากชาวบ้าน เหมือนเราเป็นลูกหลานแท้ๆ ของพวกเขาเลยทีเดียว ชาวบ้านบางคนถึงกับน้ำตาซึมที่เห็นเยาวชนรุ่นใหม่ร่วมใจกันสืบสานประเพณีไทย ซึ่งเป็นภาพที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน"

สำหรับกิจกรรมในวันเข้าพรรษาที่ผ่านมาแบ่งเป็น 2 ช่วง ในช่วงเช้า คณาจารย์ นักศึกษา ชาวบ้าน ร่วมกันถวายเทียนพรรษาซึ่งตกแต่งอย่างสวยงาม ถวายเครื่องอัฐบริขารและผ้าอาบน้ำฝน ถวายภัตตาหารเพล ถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญภาวนา ซึ่งเป็นการเว้นจากการกระทำความชั่ว บำเพ็ญความดี และชำระจิตใจให้สะอาดแจ่มใส

แต่ก่อนที่จะถวายเทียนพรรษาประเพณีทางศาสนาจะต้องแห่เทียนพรรษารอบโบสถ์ 3 รอบ ในการแห่เทียนพรรษานอกจากจะได้ปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิมแล้ว ยังสร้างความสนุกสนานให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างมาก เพราะชาวบ้านได้นำขบวนกลองยาวมาสร้างความรื่นเริง ในการแห่เทียน ซึ่งทางภาคใต้ผู้ที่เข้าร่วมในขบวนก็จะร่ายรำไปตามจังหวะของกลองยาว เพราะเชื่อถือกันว่าการได้ร่วมในขบวนจะได้พบเจอแต่สิ่งดีๆ

ส่วนในช่วงบ่าย นักศึกษาและชาวบ้านร่วมกันพัฒนาวัด เก็บกวาดขยะ ล้างถ้วยชาม ก่อนเดินทางกลับสู่ มทร.ศรีวิชัย

นอกจากนักศึกษาจะได้เรียนรู้ถึงวัฒน ธรรมประเพณีของไทย ยังมีโอกาสได้ทำบุญ และเรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกันอีกด้วย

อ้างอิง : รายงานพิเศษ ข่าวสดรายวัน วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6810 หน้า 30

คะแนน
สามารถให้คะแนนได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น.

โปรดเข้าสู่ระบบก่อนการให้คะแนน.

ยังไม่มีการให้คะแนน.
แสดงผลในเวลา: 0.01 วินาที 118,180,102 ผู้เยี่ยมชม