จากการได้ตรวจสอบข้อมูล "นักธรรมชั้นตรี" ที่ถือว่าเป็นจุดนำร่องที่เริ่มใช้บัญชีใบรับใบตอบแบบจัดพิมพ์ มีหลายสนามสอบ (จากการกำหนดของสำนักเรียน) ได้เข้าใจยังไม่ตรงกันนัก
(ภาพด้านล่าง ชมภาพขนาดขยายได้ โดยคลิกหนึ่งครั้งก่อน แล้วดับเบิ้ลคลิกอีกครั้ง จะชมภาพในขนาดที่ขยายขึ้น)
เริ่มจาก...
ภาพที่ ๑
บัญชีใบรับใบตอบที่หลายสนามสอบจัดพิมพ์มาให้ผู้เข้าสอบเขียนเองทุกอย่าง
เป็นรูปแบบที่ยังไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้อง คือ พิมพ์ชื่อผู้เข้าสอบมาด้วย
บางสำนักเรียนปริ้นเป็นแผ่นกระดาษเปล่า แล้วให้ผู้เขียนเขียนเองทุกอย่าง (ดังภาพด้านบน) ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ ถ้ามองแล้ว ก็คงไม่ต่างจากการใช้บัญชีแบบเดิมนัก หลายสนามสอบอาจเข้าใจว่า "ทางสำนักงานคงต้องการประหยัดงบประมาณ" เลยไม่ส่งบัญชีใบรับใบตอบมาให้
จริง ๆ แล้ว วัตถุประสงค์การนำบัญชีแบบนี้มาใช้ มิได้ต้องการประหยัดงบประมาณนะครับ ต้องการจะให้มีการพิมพ์ชื่อของผู้เข้าสอบและข้อมูลของผู้เข้าสอบลงไปเลย หากมีส่วนใดผิดพลาดไป ก็ให้ดำเนินการแก้ไขง่ายๆ ลงไปในกระดาษบัญชีใบรับใบตอนนี้ได้เลย โดยขีดทับตัวที่ผิด และเขียนใหม่เป็นตัวบรรจง และเขียนไว้ในช่องหมายเหตุเฉพาะคำนั้นๆ ที่ผิดพลาดไป
ก่อนจะคัดลอกลงซีดีนำส่งมาพร้อมข้อสอบ (ศ.๓ หรือ ศ.๗) ก็ให้ไปแก้ไขให้ถูกต้องในบัญชี ศ.๓ หรือ ศ.๗ ก่อน แล้วจึงส่งมายังสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง เพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดและการตรวจสอบรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
หน้าที่การแก้ไขลงในบัญชี ศ.๓ หรือ ศ.๗ นี้มีหลายรูปแบบ ทางสำนักเรียนใหญ่อาจจะกำหนดให้สนามสอบแก้ไขมาให้เลย ข้อนี้จะเบางานสำหรับเลขานุการสำนักเรียน เมื่อได้มาแล้วก็นำมาจัดรวมคัดลอกใส่ซีดีส่งให้สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงได้เลย
หรือให้ฝ่ายการศึกษาของสำนักเรียนแก้ไข ข้อนี้จะลำบากสำหรับฝ่ายเลขานุการสำนักเรียน เพราะต้องมาตรวจสอบแก้ไขทั้งสำนักเรียน แล้วคัดลอกใส่ซีดีส่งให้สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
ดังนั้น ทางสำนักเรียน ควรจะกำหนดให้ทางสนามสอบแก้ไขข้อที่ผิดพลาดลงในคอมพิวเตอร์ก่อนแล้วนำส่งให้สำนักเรียน จะเป็นการสะดวกกว่า
เน้นย้ำว่า การแก้ไข จะต้องแก้ไขเฉพาะข้อมูลที่ผิดพลาดให้ตรงเท่านั้น ห้ามเปลี่ยนแปลงเลขที่จากที่สำนักเรียนกำหนดมาให้เด็ดขาด
อันดับต่อไป มาดูรูปแบบของบัญชีกันครับ
ภาพที่ ๒ ลักษณะของบัญชีใบรับใบตอบแบบจัดพิมพ์เอง หน้าที่ ๑
ภาพที่ ๓ ลักษณะของบัญชีใบรับใบตอบแบบจัดพิมพ์เอง หน้าที่ ๑
รูปแบบบัญชีที่จัดส่งไปให้นั้น เป็นลักษณะห้องเดียว ซึ่งน่าจะอยู่ประมาณ 30 - ๔๐ คนต่อห้องสอบ รูปแบบบัญชีจะเป็นดั่งรูปด้านบนนะครับ
รูปแบบดังภาพด้านบน (ภาพที่ ๒ และภาพที่ ๓) เป็นรูปแบบการจัดห้องสอบแยกห้อง ห้องล่ะ ๓๐ คน ซึ่งการใช้ไม่ยาก เพียงคัดลอกข้อมูลจากบัญชี ศ.๓ หรือ ศ. ๗ มาใส่ (ใช้การวางแบบ "วางแบบพิเศษ"
หรือหากท่านเป็นห้องรวม ก็สามารถจัดรวมเป็นห้องรวมแบบจำนวนมากได้ โดยเพิ่มช่องลงไปให้เพียงพอก่อนที่จะคัดลอกไปวาง วิธีเพิ่มช่องหลายท่านคงทราบแล้ว หรือหากท่านไม่ทราบ ก็ใช้วิธีไปคลิกที่เลขด้านซ้ายมือสุดของช่องสุดท้าย จะเป็นสีดำตลอดแถว แล้วกด Ctrl และกดแป้น + จะเพิ่มกี่แถวก็กดไปให้เพียงพอ หากมีจำนวนมาก ก็ให้คลิกลากดำที่ตัวเลขหลายๆ แถว เมือกดแต่ละครั้งก็จะเพิ่มขึ้นเท่าจำนวนที่ลากดำ (เช่นเดียวกัน หากแถวเกิดก็กดลบด้วยการกด Ctrl และกดแป้น - ก็จะลดไปด้วย)
เรื่องการพิมพ์ด้านบนส่วนหัวของบัญชี
มีหลายแห่งสงสัยว่า ควรจะพิมพ์มาหรือควรจะว่างไว้ เพื่อเขียนเอาภายหลัง ?
ภาพที่ ๘ แบบจัดห้องๆ ละ ๓๐ คน หรือ แบบจัดรวมมากกว่านี้มีใบต่อ ใบแรก
ลักษณะของบัญชีใบรับใบตอบแบบจัดพิมพ์ด้านบนมาเอง พิมพ์มาได้บางส่วน
ภาพที่ ๙ แบบจัดห้องๆ ละ ๓๐ คน หรือ แบบจัดรวมมากกว่านี้มีใบต่อ
ใบที่สอง กรณีจัดแค่ห้องละ ๒ ใบ หรือ ใบสุดท้ายกรณีจัดห้องรวม
ภาพที่ ๑๐ แบบห้องเดียว มีรายชื่อสอบชั้นนั้น ๆ มีเพียงหน้าเดียว
กรณีนี้ให้ลบช่องตารางที่ไม่ใช้ออก ให้สังเกตรอยปะว่าจะจบหน้า
โดยแบบใบเดียวนี้ กรณีมีผู้เข้าสอบไม่เกิน ๗ คน หากมากกว่านั้น
ต้องใช้รูปแบบปกติ มีใบที่สอง ไม่ต้องลบช่องที่เหลือออก
ให้ตารางเปล่าเหลืออยู่อย่างนั้น
ส่วนหัวด้านบนของบัญชี ตั้งแต่ชื่อบัญชี รายละเอียดสนามสอบ วิชาที่สอบ เป็นต้น สามารถพิมพ์มาได้เลย แต่ที่ไม่ควรพิมพ์ ควรจะเว้นไว้ให้ห้องสอบนั้นๆ เขียนบันกทึกด้วยปากกาภายหลัง คือ มาสอบจริง / ขาดสอบ / เลขที่ขาดสอบคือ / เริ่มสอบเวลา........น. / หมดเวลา........น. ข้อมูลเหล่านี้ หากนำไปพิมพ์แล้ว คงนำมาพิมพ์ก่อนล่วงหน้าไม่ได้ ผมทำให้ดูเป็นตัวอย่างดังภาพด้านบนนะครับ (ภาพที่ ๘ - ๙ - ๑๐)
ในส่วนของการบันทึกลงใน "เริ่มสอบเวลา........น. และ หมดเวลา.........น." นั้น ให้บันทึกเวลาจริงของการประกาศเริ่มสอบของสนามสอบนั้น ๆ ที่อาจจะหลังจากเวลากลางไปเล็กน้อย แต่ไม่ห่างกันนัก ตามความพร้อมของสนามสอบนั้น ๆ และเวลาหมดก็ขยายออกไปด้วย (ไม่เกี่ยวกับการเปิดข้อสอบนะครับ เวลาเปิดข้อสอบควรเป็นไปตามเวลากลางที่กำหนดไว้ แต่ละสนามสอบมีแนวปฏิบัติเรื่องนี้อยู่แล้ว)
ส่วนการคัดลอกไปวางนั้น
ดังกล่าวข้างต้นแล้วว่า ใช้วิธีวางแบบพิเศษ เพราะถ้าหากท่านไปวางแบบปกติ ค่าเดิมของรูปแบบที่ให้จัดพิมพ์นี้จะหายไป อาจจะทำให้หน้าตาของบัญชีเปลี่ยนค่าผิดปกติไปได้ จึงควรรักษารูปแบบของบัญชีไว้ ไม่ต้องแต่งเติมอะไร (ควรทำอย่างยิ่ง เพราะมีหลายแห่งไปปรับแต่งให้เล็กลง จะทำให้ตรวจสอบสับสนได้)
รูปแบบมีดังนี้นะครับ
เปิดบัญชี ศ.๓ หรือ บัญชี ศ.๗ (ซึ่งเป็นบัญชีเดียวกับที่เตรียมนำส่งสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง คัดลอกมาทีละคอลัมพ์ โดยคอลัมพ์ที่เราจะคัดลอกมานั้น คือ สถานศึกษา สังกัดวัด ชื่อ ฉายา (ถ้าเป็นบัญชีสำหรับนักธรรม) นามสกุล อายุ คัดลอกมาครั้งหล่ะคอลัมพ์ ยกเว้นช่องชื่อ ฉายา นามสกุล และอายุ คัดลอกมาได้ครั้งเดียว เราจะเอา ๓๐ คน ก็คัดลอกมาครั้งหล่ะ ๓๐ เลขที่ ดูตัวอย่างดังภาพด่านล่าง
ภาพที่ ๔ ลากดำจำนวนแถวที่ต้องการคัดลอก ดังภาพ
โดยชุดนี้ เราสามารถคัดลอกมา ๓ คอลัมพ์ได้
ภาพที่ ๕ เปิดบัญชีใบรับใบตอบขึ้นมา คลิกที่ช่องที่ต้องการวาง แล้ว "คลิกขวา" เลือก "วางแบบพิเศษ"
ภาพที่ ๖ จะปรากฏหน้า "วางแบบพิเศษ" ขึ้นมา ให้คลิกเลือกที่คำว่า "ค่า" ในส่วนตัวเลือกบนสุด แล้วเลือก "ตกลง"
ภาพที่ ๗ จะปรากฏว่า ข้อมูลได้ถูกวางในค่า "รูปแบบเดิม" ที่ทางสำนักงานกำหนดมา
ค่าต่าง ๆ จะไม่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งหน้าตาจะไม่ผิดปกติ
ต่อไปก็ไปคัดลอกส่วนอื่นมาอีกจนเสร็จ หรือจะพิมพ์ลงเลยก็ได้ ค่าต่าง ๆ จะไม่หายไป
ก็เป็นข้อมูลเบื้องต้นของการใช้งาน "บัญชีใบรับใบตอบ" ที่กำหนดให้ใช้ในปีนี้นะครับ ขออภัยสำหรับการแนะนำต่อท่านผู้ชำนาญการ ส่วนท่านผู้ยังไม่ชำนาญการคงจะเป็นประโยชน์อยู่บ้าง
ขอย้ำนะครับ อย่าไปแต่งอะไรเพิ่มเติมอีก บัญชีถูกกำหนดมาเช่นนี้ ก็ขอได้โปรดเมตตาให้เป็นมาดังลักษณะนี้ อย่าปรับให้ใหญ่ขึ้น เพราะอาจจะแสดงผิดปกติ หรืออย่าปรับให้เล็กลง เพราะจะทำให้งงเมื่อตรวจสอบ รวมทั้งไม่มีพื้นที่การแก้ไขในบัญชี
ส่วนท่านที่ใช้บัญชีเดิมอยู่เมื่อสอบ "นักธรรมตรี" ก็ขอความกรุณาได้โปรดปรับมาใช้ตามการกำหนดของสำนักงานในการสอบครั้งต่อไปนะครับ
การปรับแก้ไข....
ส่วนเรื่องการปรับแก้ไขนั้น ให้แก้ไขลงในบัญชีใบรับใบตอบได้เลย ทั้งนี้ เพื่อง่ายต่อการแก้ไขลงในบัญชี ศ.๓ ที่จะบันทึกลงซีดีส่งมาให้สำนักงานฯ และควรจะแก้ไขก่อนส่งมาให้ด้วยนะครับ การตรวจสอบน้อยลง การประกาศผลจะเร็วขึ้นตามมาด้วย
บัญชีใบรับใบตอบนี้ เป็นบัญชีการพิมพ์ทางกระดาษที่ใช้แทนบัญชี ศ.๓ หรือ ศ.๗
ดังนั้น การส่งมายังสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงนั้น ท่านไม่ต้องพิมพ์เอกสารบัญชี ศ.๓ หรือ ศ.๗ ส่งมาด้วย แต่บัญชี ศ.๓ หรือ ศ.๗ ที่เป็นต้นฉบับในคอมพิวเตอร์ที่ท่านแก้ไขให้ตรงแล้ว อันเป็นฉบับที่จะคัดลอกใส่แผ่นซีดีส่งมายังสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงดังในอดีต ท่านจะต้องคัดลอกใส่ซีดีส่งมาให้เหมือนเดิม ลดแต่การพิมพ์เท่านั้น เพราะใช้บัญชีใบรับใบตอบแทนแล้ว
การใช้บัญชีใบรับใบตอบฉบับพิมพ์เองนี้ เหมือนกับการใช้งานบัญชีใบรับใบตอบของเดิมทุกประการ เมื่อมีการขาดสอบ ก็ให้ลงคำว่า "ขาดสอบ" ด้วยปากกาแดงในช่อง "หมายเหตุ" เหมือนเดิม
และขอความกรุณาอย่าปรับบัญชีแบบให้เหลือเฉพาะผู้มาสอบนะครับ ขอให้คงไว้อย่างนั้น เลขที่ไหนขาดสอบ ก็ให้ลงปากกาแดง ขีดปากกาแดงทับในเลขที่ขาดสอบมาเหมือนเดิม ที่ต้องพูดเช่นนี้ เพราะมีสำนักเรียนคณะจังหวัดบางแห่งทำเช่นนั้นมาแล้ว (ขอไม่ระบุ) ทำมาตลอดในหลายปี
ทั้งในบัญชีใบรับใบตอบและในข้อมูลที่จะคัดลอกใส่ซีดีส่งมายังสำนักงาน ขออย่าตัดผู้ขาดสอบออกไป จะมีผลทางการคำนวนสถิติที่จะผิดปกติทันที
เพิ่มเติมเกี่ยวสูตรที่เมื่อจัดแล้ว เกินไป...
เนื่องจากมีท่านผู้กำลังจัดทำบัญชี โทรมาถามเรื่องการเกินของหน้า คือ สนามสอบนี้ มีคนสอบ ๓๕ คนพอดี ปรากฏว่า ช่องสำหรับเซ็นของกรรมการตีไปอยู่ในหน้าที่ ๓ ผมทดสอบดูแล้วก็เป็นเช่นนั้นจริง จึงบอกวิธีแก้ไขไว้ดังนี้นะครับ
เปิดหน้านั้นขึ้นมา คลิกที่ "ตัวอย่างก่อนพิมพ์
จะพบหน้าตาที่มีเส้นแบบนี้ หากไม่มีเส้นให้เห็นให้คลิกที่ "ระยะขอบ" จะปรากฏเส้นขึ้นมา
คลิกลากเส้นด้านบนลงมาพองาม และคลิกลากเส้นที่สองนับขึ้นในด้านล่างขึ้นมา
แล้วกด "ปิด" คลิกดู "ตัวอย่างก่อนพิมพ์อีกครั้ง ดูว่าหน้าพอดีหรือไม่ ถ้าหน้า ๓๕ คน
ถ้าเราคลิกลากอย่างว่าแล้ว น่าจะให้ตกไปอยู่ที่หน้า ๓ สองคน
ก็ลองทดสอบทำดูนะครับ แต่อย่าลากมากไป ให้ดูพอสวยในหน้าหนึ่ง ๆ
คงสนทนาเป็นเชิงให้เข้าใจตรงกันเรื่องนี้ไว้แค่นี้ครับ มีปัญหาจะสอบถามเรื่องการใช้บัญชี สามารถสอบถามได้ที่พระครูปลัดเมธาวัฒน์ หมายเลขสำนักงาน และที่พระมหาสำรวย นาควโร โทร. ๐๘๑ - ๔๙๕ ๘๒๔๓
หมายเหตุ : ภาพด้านบน ชมภาพขนาดขยายได้ โดยคลิกหนึ่งครั้งก่อน แล้วดับเบิ้ลคลิกอีกครั้ง จะชมภาพในขนาดที่ขยายขึ้น
แก้ไขโดย webmaster เมื่อ 21-10-2009 13:52
it not over until is over = มันยังไม่จบ จนกว่ามันจะจบ |