March 19 2024 09:41:24
เมนู
หน้าแรก
ใบคำร้องฯ
ผลสอบ ๒๕๔๓-๖๖
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๔
ขอบข่ายธรรมศึกษา ๒๕๖๑
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี ประถม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี มัธยม
หนังสือหลักสูตรชั้นตรี อุดม
ทดสอบสอบความรู้จากข้อสอบธรรมศึกษา 2543-2562
eLearning ธรรมศึกษา
วีดิโอสอนธรรมศึกษา
ระเบียบการจัดสอบ ๒๕๖๐
กระดาษเขียนกระทู้ธรรม ธศ.
สมุดลงนามฯ (สมุดเยี่ยม)
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ
บัญชีบรรจุใบตอบปรนัย
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ น.ธ.
ทะเบียนพัสดุหลังสอบ ธ.ศ.
ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน (แบบใหม่ ๒๕๖๑)
วิธีระบายเลขที่สอบ (ธรรมศึกษา)
นักธรรม (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
นักธรรม (ฟอร์มขอแก้ไข)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มแจ้งสถิติ)
ธรรมศึกษา (ฟอร์มขอแก้ไข)
ดาวน์โหลด
ปัญหา-เฉลย นักธรรม ๖๔
ปัญหา-เฉลย น.ธ.-ธ.ศ. ๖๕
สถิติสอบธรรม ๒๕๖๒
อันดับสำนักเรียนสอบได้มาก

ประวัตินักธรรม
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทำเนียบแม่กองธรรม
ทำเนียบผู้บริหารปัจจุบัน
แม่กองธรรมสนามหลวง
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
หนังสือประกอบหลักสูตร
ปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษา
ระเบียบปฏิบัติทั่วไป
กฏกระทรวง พ.ศ.๒๕๔๘

การขอใบรับรอง

ห้องแสดงภาพ
ห้องสนทนา
บทความ
เว็บลิงค์
คำถามยอดนิยม
ค้นหา

ส่งบทความ
ปฏิทินกิจกรรม

วิดีโอแกลอรี่
เพิ่มวิดีโอ
วีดีทัศน์เกี่ยวกับสอบธรรม 2553
ผู้มีสิทธิสอบ
ฝ่ายธุรการ
รายชื่อรัฐของสหรัฐอเมริกา
ติดต่อสำนักเรียน
จศป.ครูธรรม
ติดต่อสำนักเรียน
ทั่วประเทศ
ส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค (ม)
ส่วนภูมิภาค (ธ)

เจ้าคณะตำบล-อำเภอ-จังหวัด
วัดทั่วประเทศ
สถานศึกษาทั่วประเทศ

สนามสอบทั่วประเทศ
สนามสอบนักธรรม ส่วนกลาง
ระเบียบปฏิบัติ
MOU ธรรมศึกษา
คำปราศรัยฯ น.ธ.ตรี
คำปราศรัยฯ น.ธ.โท-เอก
คำปราศรัยฯ ธรรมศึกษา
ใบปิดหน้าซองบรรจุคำตอบ

ใบตอบธรรมศึกษาแบบฝน
คำอธิบายการฝนใบคำตอบ

ระเบียบการจัดสอบ
กำหนดวันสอบ ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนภูมิภาค ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ๒๕๖๖
ระเบียบฯ ส่วนกลาง ภาคผนวก ๒๕๖๖
เล่มสนามสอบ สมัยที่ ๒

วิธีการตรวจข้อสอบนักธรรม
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
สนามหลวง แผนกบาลี
ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย
ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงวัฒนธรรม
กรมการศาสนา
หัวข้อแนะนำ
พระมหาสมณเจ้าฯ

งานฉลอง ๙๗ พระชันษา

ดูสถิติการเข้าชมเว็บของคุณ
Youtube Gallery
   วิดีโอทั้งหมด (11)
   พระประวัติ และ ประวัติ (3)
   การศึกษาของสงฆ์ไทย (1)
   พิธีเปิดสอบธรรม พ.ศ. 2553 (0)
   คู่มือ-เทคนิค-วิธีการ (7)
วิดีโอล่าสุด
video

video

สนง.พระพุทธศาสนาฯ



ชวนเพื่อนมาชมเว็บนี้

อีเมล์คุณ:
ส่งถึงเพื่อน:
คัดลอกสำเนา?
๑๕๐ ปี วันประสูติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
๑๕๐ ปี วันประสูติ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า

โดย พระพจนารถ ปภาโส
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

         วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นักเรียนธรรมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน ๑,๙๐๖,๘๗๓ คน เข้าสอบธรรมสนามหลวงในสนามสอบ ๓,๗๘๕ สนาม ทำให้หวนระลึกถึงพระกรุณาธิคุณใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ที่โปรดประทานพระอนุญาตให้ครูที่เป็นคฤหัสถ์เข้าสอบไล่วิชานักธรรมชั้นตรีในสนามคณะสงฆ์ ในการสอบธรรมสนามหลวงประจำปีพุทธศักราช ๒๔๗๒ อันเป็นปฐมธรรมศึกษาของประเทศไทย นี่เป็นพระกรณียกิจส่วนหนึ่งที่สร้างความวัฒนาสถาพรให้แก่คณะสงฆ์สืบมาจนถึงปัจจุบัน

         วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นมหามงคลสมัยครบ ๑๕๐ ปี วันประสูติใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า คณะสงฆ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้จัดกิจกรรมประกอบด้วยการบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พิมพ์บทพระนิพนธ์ และจัดสร้างวัตถุมงคลอนุสรณ์ เป็นต้น

         การนี้

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงพระกรุณาโปรดรับการบำเพ็ญกุศลและการจัดงานไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

         สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฏราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเสด็จพระราชดำเนินมาวัดราชบพิธในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย ในวันพุธที่ ๑๖ ธันวาคม

         สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเสด็จพระราชดำเนินมาวัดราชบพิธในพิธีพุทธภิเษกพระพุทธอังคีรส(จำลอง) และพระรูป สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พร้อมทั้งทรงเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ในวันเสาร์ที่ ๑๒ ธันวาคม

         สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงพระกรุณาโปรดพิมพ์หนังสือนิบาตชาดก จตฺตาฬีสนิบาต พระราชทานเป็นอนุสรณ์

         คณะสงฆ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ขอพระราชทานถวายอนุโมทนาในพระราชกุศลและพระกุศลที่ทรงบำเพ็ญในมงคลกาลนี้ และขอพระราชทานถวายพระพรให้ทุกพระองค์ทรงเจริญพระชนมสุขสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลทุกประการ

         พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าภุชงค์ เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ ประสูติแต่ หม่อมปุ่น ณ วังถนนเฟื่องนคร(วังใต้) (ปัจจุบันคือที่ตั้งกระทรวงมหาดไทย) เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๒

         พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ ทรงเป็นเจ้านายที่ทรงใฝ่พระทัยในการศึกษา มีความชำนาญในการช่าง รัชกาลที่ ๕ ทรงแต่งตั้งให้เป็นแม่กองสร้างวัดเทพศิรินทราวาส และทรงโปรดให้เป็นผู้ทรงจัดการรับเสด็จพระเจ้ากรุงฮาวาย คราเสด็จเยือนกรุงสยาม

         สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงรับสั่งถึงการศึกษาครั้งแรกของพระองค์ว่า

          “เจ้าจอมมารดาสัมฤทธิ์ เป็นผู้สอนหนังสือไทยแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่ข้าพเจ้าอายุได้ ๗ ขวบ จนอ่านและเขียนเรียงความง่ายๆ ได้ ”

         ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๔ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ เข้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนแรฟฟัล เมืองสิงคโปร์ เป็นเวลา ๙ เดือน พ.ศ. ๒๔๑๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จกลับมาศึกษา ณ โรงเรียนที่ทรงตั้งขึ้นในพระบรมมหาราชวัง พระบิดาทรงจัดให้ศึกษาภาษาขอมกับพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และภาษาไทยกับพระยาโอวาทวรกิจ (แก่น โอวาทสาร) ณ วังที่ประทับ เมื่อพระอาจารย์ทั้งสองได้รับภาระแต่งโคลงบรรยายภาพรามเกียรติ์บนหินอ่อนติดอยู่ที่เสารอบๆ พระระเบียงในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทำให้ หม่อมเจ้าภุชงค์ ได้ทรงแต่งโคลงจารึกแผ่นที่ ๖๔๙ – ๖๕๖ พรรณนาภาพรามเกียรติ์ ห้องที่ ๑๖๓ – ๑๖๔ ด้วย

         ครั้นพระชันษา ๑๔ ปี ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (ขณะทรงดำรงพระยศที่ กรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธุ์) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร (แต่ครั้งยังทรงเป็นหม่อมเจ้าพระราชาคณะ) เป็นพระบรรพชาจารย์ เมื่อทรงผนวชแล้วประทับ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

         ทรงเล่าเรียนพระปริยัติธรรมต่อมาจนถึงพระชันษาครบอุปสมบท จึงทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๒ สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) (ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวโรดม) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร (แต่ครั้งยังทรงเป็นหม่อมเจ้าพระราชาคณะ) เป็นพระบรรพชาจารย์

         เมื่อผนวชแล้วทรงได้รับพระนามฉายาว่า “สิริวฑฺฒโน” และประทับ ณ วัดราชบพิธตลอดมา กระทั่งได้ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธเป็นพระองค์ที่ ๒ สืบต่อจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๔

         ขณะทรงเป็นสามเณรนั้น ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมในหลายแห่ง เริ่มต้นที่สำนักของพระครูบัณฑรธรรมสโมธาน (สด) ที่วัดราชบพิธฯ และจากหลวงญาณภิรมย์ (โพ) และอาจารย์รอด กับทั้งได้ทรงศึกษาภาษาสันสกฤตกับพราหมณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มาสอน ทั้งยังได้เสด็จไปทรงศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักของสมเด็จพระสังฆราช (สา) ครั้นทรงผนวชเป็นพระภิกษุแล้ว ได้ทรงเข้าสอบพระปริยัติธรรมหน้าพระที่นั่ง ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๕ ได้ทรงเป็นเปรียญ ๔ ประโยค พุทธศักราช ๒๔๒๙ ทรงเข้าสอบพระปริยัติธรรมที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามอีกครั้งหนึ่ง ได้ทรงเป็นเปรียญ ๕ ประโยค

         สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงใฝ่พระทัยในทางการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ทรงอ่านและทรงแปลภาษาบาลี สันสกฤต และอังกฤษได้เป็นอย่างดี ทั้งยังทรงพระปรีชาสามารถในเชิงกวี ทรงพระนิพนธ์เรื่องราวต่างๆ ทั้งภาษาไทย และด้วยอักษรเทวนาคีเป็นจำนวนมาก

         พระปรีชาสามารถในทางรจนาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า นับได้ว่าทรงเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงพระนิพนธ์ตำราเพื่อการศึกษาพระปริยัติธรรม ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนาไว้เป็นจำนวนมาก เช่น

         พระคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ซึ่งเป็นพจนานุกรมแปลภาษาบาลีเป็นไทยเล่มแรก

         ต้นบัญญัติ เป็นพระนิพนธ์แปลจากมหาวิภังค์คัมภีร์พระวินัยปิฎก แต่ครั้งยังทรงดำรงพระยศที่หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต เกี่ยวกับเรื่องเค้ามูลแห่งการที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทต่างๆ

         นิบาตชาดก จตฺตาฬีสนิบาต รวมชาดก ๔ เรื่อง ได้แก่ เตสกุณชาดก, สรภงฺคชาดก,อลมฺพุสชาดกและสํขปาลชาดก, มหานิบาตชาดก:ทศชาติฉบับชินวร, ศีวิชัยชาดก, ภิกษุณี, สามเณรสิกขา, อาการ ๓๑, คำแนะนำเรียงความแก้กระทู้ธรรม

         นอกจากนี้ยังมีพระนิพนธ์หลายต่างเรื่องที่มีความยาวสังเขป เช่น พระธรรมเทศนากัณฑ์ต่างๆ ตลอดจนพระอนุศาสนี และพระนิพนธ์ร้อยกรองอื่นๆ อีกมาก

         สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นผู้ตรวจชำระพระบาลีพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ด้วยอักษรสยาม เป็นรูปเล่มหนังสืออย่างสมัยปัจจุบัน ออกเผยแพร่ไปยังพระอารามทั่วประเทศ ตลอดจนสถาบันสำคัญในนานาประเทศทั่วโลก และทรงเป็นประธานกรรมการชำระพระบาลีพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำขึ้นเป็นพระบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทฉบับพิมพ์ที่สมบูรณ์สำรับแรก แล้วเสร็จเมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๓

         สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นพระราชกรรมวาจารย์เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงผนวชเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๗ และเป็นพระราชกรรมวาจารย์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศที่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา ทรงผนวชเมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๐ ทั้งยังทรงเป็นอุปัชฌายะและอาจารย์ของพระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนกุลบุตรเป็นจำนวนมาก

         ในสมัย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงบริหารคณะสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงสนองงานตามที่มีพระบัญชาทั้งในส่วนการศึกษาพระปริยัติธรรมและส่วนการบริหาร ทรงเป็นผู้ประสานสามัคคีในคณะสงฆ์ ทำให้การบริหารคณะสงฆ์สามารถดำเนินไปได้อย่างเป็นเอกภาพ

         ทรงได้รับความเชื่อถือจากคณะสงฆ์ว่าทรงมีความยุติธรรมในการตัดสิน ดังตัวอย่างคำวินิจฉัยเรื่องครูบา ศรีวิชัย ที่ทรงเป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง

         เมื่อ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงบริหารคณะสงฆ์ต่อจาก สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา-วชิรญาณวโรรส ได้เสด็จไปทรงตรวจการณ์คณะสงฆ์ทั้งในพระนครและหัวเมืองอย่างทั่วถึง ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นอยู่และการครองตนของภิกษุสามเณร ตลอดจนสภาพของอารามใน เขตหัวเมืองหลายแห่ง ทำให้พระองค์ทรงสามารถบริหารงานคณะสงฆ์ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของบ้านเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงแต่งตั้ง พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นพระอุปัชฌาย์

         อวสานกาลแห่งพระชนมชีพ เริ่มมีพระอาการประชวรด้วยพระโรคหลอดโลหิตแข็งและชำรุด (Arteriosclerosis) ในต้นเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ ได้มีพระบังคนเบาเป็นพระโลหิต ซึ่งเกิดจากการแตกของหลอดโลหิตที่แข็งและชำรุดในกระเพาะปัสสาวะ และพระอาการทรุดลงตลอด,k เช้าวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๐ ทรงมีรับสั่งเรียกพระจุลคณิศร (วาสนมหาเถระ) (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๘) ให้นำใบปลงบริขารที่ได้รับสั่งให้ถือไว้มาถวาย ทรงให้อ่านและแก้ไขตามความเป็นจริง ต่อหน้าสงฆ์ที่เฝ้าอยู่ เมื่อเสร็จแล้ว ทรงเจริญสมาธิสิ้นพระชนม์ดุจคนนอนหลับเมื่อเวลา ๑๐.๐๕ น. สิริพระชันษา ๗๙ ปี

         คุณูปการใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า มีมากยากจะพรรณนาให้จบสิ้นในคอลัมน์นี้ จึงขอเชิญชวนพุทธบริษัทได้เข้าชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ณ วัด ราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ตั้งแต่ วันที่ ๑๒ – ๒๐ ธันวาคมนี้ ท่านจักได้รับสรรพประโยชน์ที่ควรแก่การดำเนินชีวิตของตนสืบไป

๑ ธันวาคม ๒๕๕๒
เวลา ๐๓.๑๐ น.

คะแนน
สามารถให้คะแนนได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น.

โปรดเข้าสู่ระบบก่อนการให้คะแนน.

ยังไม่มีการให้คะแนน.
แสดงผลในเวลา: 0.01 วินาที 117,582,586 ผู้เยี่ยมชม