หัวเรื่องกระทู้: สนง.แม่กองธรรมสนามหลวง :: ขอบข่ายหลักสูตรธรรมศึกษา ชั้นตรี ฉบับปรับปรุง ๒๕๕๗

โพสโดย phng เมื่อ 22-07-2017 10:47
#1

ขอบข่ายหลักสูตรธรรมศึกษา ชั้นตรี
ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๕๗

~ ~ ~ o ~ ~ ~
วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม

๑. ทานวรรค คือ หมวดทาน
๑. ทานญฺจ ยุทฺธญฺจ สมานมาหุ.
ท่านว่า ทานและการรบ เสมอกัน.
สํ. ส. ๑๕/๒๙. ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗/๒๔๙.

๒. นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺหิ อปฺปกา นาม ทกฺขิณา.
เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี.
ขุ. วิมาน. ๒๖/๘๒.

๓. วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ.
การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ.
สํ. ส. ๑๕/๓๐. ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗/๒๔๙. เปต. ๒๖/๑๙๗

๔. พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ.
คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๘.

๕. ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ.
ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้.
สํ. ส. ๑๕/๓๑๖.

๖. ททํ ปิโย โหติ ภชนฺติ นํ พหู.
ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๓.

๗. ททมาโน ปิโย โหติ.
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๔.

๘. สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โสอธิคจฺฉติ.
ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๕.

๙. มนาปทายี ลภเต มนาปํ.
ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๕.

๑๐. เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ
ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๖.

๑๑. อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ.
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๖.

๑๒. ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ.
เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น.
ที. มหา. ๑๐/๑๕๘. ขุ.อุ ๒๕/๒๑๕.

๑๓. ทเทยฺย ปุริโส ทานํ.
คนควรให้ของที่ควรให้.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๑๗.

๒. ปาปวรรค คือ หมวดบาป
๑๔. มลา เว ปาปกา ธมฺมา อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ.
บาปธรรมเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกอื่น.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๑๕. ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.
ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.

๑๖. ปาปานํ อกรณํ สุขํ.
การไม่ทำบาป นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๑๗. ปาปํ ปาเปน สุกรํ.
ความชั่วอันคนชั่วทำง่าย.
วิ. จุล. ๗/๑๙๕. ขุ.อุ.๒๕/๑๖๘

๑๘. ปาเป น รมตี สุจิ.
คนสะอาดไม่ยินดีในความชั่ว.
วิ. มหา. ๕/๓๔. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๖.

๑๙. สกมฺมุนา หญฺญติ ปาปธมฺโม.
คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน.
ม. ม. ๑๓/๔๑๓. ขุ.เถร.๒๖/๓๗๙.

๒๐. ตปสา ปชหนฺติ ปาปกมฺมํ.
สาธุชน ย่อมละบาปกรรมด้วยตบะ
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗/๒๔๕

๒๑. ปาปานิ กมฺมานิ กโรนฺติ โมหา.
คนมักทำบาปกรรมเพราะความหลง.
ม. ม. ๑๓/๔๑๓. ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๘๐.

๒๒. นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต.
บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ.
ขุ. ธ . ๒๕/๓๑.

๒๓. ธมฺมํ เม ภณมานสฺส น ปาปมุปลิมฺปติ.
เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่แปดเปื้อน.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๔.

๒๔. นตฺถิ อการิยํ ปาปํ มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน.
คนมักพูดมุสา จะไม่พึงทำความชั่ว ย่อมไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๘. ขุ.อิติ.๒๕/๒๔๓.

๒๕. ปาปานิ ปริวชฺชเย.
พึงละเว้นบาปทั้งหลาย.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๑.

๒๖. น ฆาสเหตุปิ กเรยฺย ปาปํ.
ไม่ควรทำบาปเพราะเห็นแก่กิน.
นัย-ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๒.

๓. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ
๒๗. ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ.
บุญอันโจรนำไปไม่ได้.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๒๘. ปุญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ.
บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๒๙. สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.
ความสั่งสมบุญ นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.

๓๐. ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ.
บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า.
สํ. ส. ๑๕/๒๖. อง. ปญฺจก. ๒๒/๔๔. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๔.

๓๑. ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ.
ควรทำบุญอันนำสุขมาให้.
สํ. ส. ๑๕/๓. อง. ติก. ๒๐/๑๙๘.

๔. สติวรรค คือ หมวดสติ.
๓๒. สติ โลกสฺมิ ชาคโร.
สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๓๓. สติมโต สทา ภทฺทํ.
คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ
สํ. ส. ๑๕/๓๐๖.

๓๔. สติมา สุขเมธติ.
คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข.
สํ. ส. ๑๕/๓๐๖.

๓๕. สติมโต สุเว เสยฺโย
คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน
สํ. ส. ๑๕/๓๐๖

๕. สีลวรรค คือ หมวดศีล.
๓๖. สีลํ ยาว ชรา สาธุ.
ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๓๗. สุขํ ยาว ชรา สีลํ.
ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๓๘. สีลํ กิเรว กลฺยาณํ.
ท่านว่าศีลนั่นเทียว เป็นความดี.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๙.

๓๙. สีลํ โลเก อนุตฺตรํ.
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

๔๐. สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ.
ศีลพึงรู้ได้เพราะอยู่ร่วมกัน.
นัย-ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.

๔๑. สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร.
ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี.
สํ. ส. ๑๕/๑๐๖. ขุ. ธ. ๒๕/๖๔.

๔๒. สญฺญมโต เวรํ น จียติ.
เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น.
ที. มหา. ๑๐/๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕/๒๑๕.

๔๓. สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี.
ปราชญ์พึงรักษาศีล.
ขุ. อิติ. ๒๕/๒๘๒.

วิชาธรรม

ทุกะ หมวด ๒
ธรรมมีอุปการะมาก ๒
ธรรมเป็นโลกบาล ๒
ธรรมอันทำให้งาม ๒
บุคคลหาได้ยาก ๒

ติกะ หมวด ๓
รัตนะ ๓
โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓
ทุจริต ๓
สุจริต ๓
อกุศลมูล ๓
กุศลมูล ๓
บุญกิริยาวัตถุ ๓

จตุกกะ หมวด ๔
วุฑฒิ ๔
จักร ๔
อคติ ๔
ปธาน ๔
อธิษฐานธรรม ๔
อิทธิบาท ๔
พรหมวิหาร ๔
อริยสัจ ๔

ปัญจกะ หมวด ๕
อนันตริยกรรม ๕
เวสารัชชกรณธรรม ๕
ธัมมัสสวนานิสงส์ ๕
พละ ๕
ขันธ์ ๕

ฉักกะ หมวด ๖
คารวะ ๖
สาราณิยธรรม ๖

สัตตกะ หมวด ๗
อริยทรัพย์ ๗
สัปปุริสธรรม ๗

อัฏฐกะ หมวด ๘
โลกธรรม ๘
มรรคมีองค์ ๘

คิหิปฏิบัติ
จตุกกะ หมวด ๔
กรรมกิเลส ๔
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔
มิตตปฏิรูป ๔
มิตรแท้ ๔
สังคหวัตถุ ๔
ธรรมของฆราวาส ๔

ปัญจกะ หมวด ๕
มิจฉาวณิชชา ๕
สมบัติของอุบาสก ๕

ฉักกะ หมวด ๖
ทิศ ๖
อบายมุข ๖

วิชาพุทธประวัติและศาสนพิธี

ปุริมกาล
ปริเฉทที่ ๑
ชมพูทวีปและประชาชน
วรรณะ ๔

ปริเฉทที่ ๒
สักกชนบทและศากยวงศ์
ลำดับศากวงศ์

ปริเฉทที่ ๓
ประสูติ
อสิตดาบสเข้าเฝ้าและพยากรณ์
ทรงเจริญอานาปานสติ
ทรงอภิเษกสมรส

ปริเฉทที่ ๔
เสด็จออกบรรพชา

ปริเฉทที่ ๕
ตรัสรู้
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา
ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิต
ทรงผจญมาร

ปฐมโพธิกาล
ปริเฉทที่ ๖
เสวยวิมุตติสุข
ทรงพิจารณาสัตว์โลกเปรียบด้วยดอกบัว
ทรงแสดงปฐมเทศนา
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร

ปริเฉทที่ ๗
ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา
โปรดยสกุลบุตร
โปรดชฎิล ๓ ที่น้อง
ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร

ปริเฉทที่ ๘
เสด็จเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ
ทรงรับพระอุทยานเวฬุวันเป็นสังฆาวาส
ทรงได้พระอัครสาวก

มัชฌิมโพธิกาล
ปริเฉทที่ ๙
ทรงบำเพ็ญพุทธกิจในแคว้นมคธ
ประทานการอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะ
มหาสันนิบาตแห่งพระสาวก
ทรงอนุญาตเสนาสนะ
ทรงมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ในกิจพระศาสนา
ทรงแสดงทิศ ๖ โปรดสิงคาลกมาณพ
ทรงแสดงเทวตาพลี

ปริเฉทที่ ๑๐
เสด็จแคว้นสักกะ
เสด็จเมืองกบิลพัสดุ์ชาติภูมิ
โปรดพระพุทธบิดา
พระนันทกุมารออกบวช
พระราหุลบรรพชา

ปริเฉทที่ ๑๑
เสด็จแคว้นโกศล

ปัจฉิมโพธิกาล
ปริเฉทที่ ๑๒
อนุสนธิ
ทรงปรงอายุสังขาร เสด็จบ้านเวฬุวคาม
เหตุทำให้เกิดแผ่นดินไหว ๘ ประการ
ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ เสด็จป่ามหาวัน
เสด็จโภคนคร
นายจุลทะถวายปัจฉิมบิณบาตร เสด็จเมืองปาวา
ทรงพระประชวร เสด็จเมืองกุสินารา
ผิวกายพระตถาคตผ่องใสยิ่งใน ๒ กาล
บิณฑบาตทาน ๒ คราวมีผลเสมอกัน
บรรทมอนุฏฐานไสยา
ทรงปรารภสักการบูชา
ประทานโอกาสให้เทวดาเข้าเฝ้า
ทรงแสดงสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
อาการอันภิกษุทั้งหลายพึงปฏิบัติต่อสตรี
วิธีปฏิบัติในพระพุทธสรีระ
ถูปารหบุคคล ๔
ประทานโอวาทแก่พระอานนท์
ตรัสสรรเสริญพระอานนท์
ตรัสถึงเมืองกุสินารา
ตรัสสั่งให้แจ้งข่าวปรินิพพานแก่มัลลกษัตริย์
โปรดสุภัททปริพาชก
ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์
ประทานโอกาสให้ภิกษุสงฆ์ถามข้อสงสัย
ปัจฉิมโอวาท
ปรินิพพาน

อปรกาล
ปริเฉทที่ ๑๓
ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
แจกพระบรมสารีริกธาตุ
สุนทรพจน์ของโทณพราหมณ์
สาระสำคัญในการเสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
ประเภทแห่งสัมมาสัมพุทธเจดีย์
สังเวชนียสถาน ๔

ศาสนพิธี
อารัมภบท
องค์ประกอบของศาสนา
ประโยชน์ของศาสนพิธี

บทที่ ๑ การจัดโต๊ะหมู่บูชาและเครื่องสักการะ
การจัดโต๊ะหมู่บูชา
ความเป็นมาของโต๊ะหมู่บูชา
ประเภทของโต๊ะหมู่บูชา
วัตถุประสงค์การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา
วิธีการจัดโต๊ะหมู่บูชา
เครื่องสักการบูชา
เครื่องบูชาทองน้อย
เครื่องสักการะธูปเทียนแพ
การจัดธูปเทียนแพกรวยดอกไม้

บทที่ ๒ การปฏิบัติพิธี
วิธีแสดงความเคารพพระ
การประนมมือ
การไหว้
การกราบ
วิธีกราบแบบชาย
วิธีกราบแบบหญิง
การจัดสถานที่พิธีทำบุญ
การบูชาพระรัตนตรัย
เครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย
การอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร และอาราธนาธรรม
วิธีปฏิบัติในการอาราธนา
คำอาราธนาศีล ๕
คำอาราธนาพระปริตร
สรณคมน์และศีล ๕
คำอาราธนาธรรม
การจุดเทียนน้ำมนต์
การถวายภัตตาหารพระสงฆ์
การถวายจตุปัจจัยไทยธรรม
วิธีประเคนของถวายพระ
การกรวดน้ำรับพร
วิธีปฏิบัติในการกรวดน้ำ

บทที่ ๓ พิธีบำเพ็ญกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันมาฆบูชา
ความเป็นมาของวันมาฆบูชา
การเวียนเทียนในวันมาฆบูชา
คำบูชาในวันมาฆบูชา
วันวิสาขบูชา
ความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย
การเวียนเทียนวันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชาได้รับการรับรองให้เป็นวันสำคัญสากล
การจัดพิธีวิสาขบูชาของชาวพุทธนานาชาติ
คำบูชา ดอกไม้ ธูป เทียน วันวิสาขบูชา
วันอัฏฐมีบูชา
ความเป็นมาของวันอัฏฐมีบูชา
การจัดพิธีอัฏฐมีบูชา
คำบูชา ดอกไม้ ธูป เทียน วันอัฏฐมีบูชา
วันอาสาฬหบูชา
ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา
ความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชา
พระราชพิธีในวันอาสาฬหบูชา
คำบูชา ดอกไม้ ธูป เทียน วันอาสาฬหบูชา

บทที่ ๔ พิธีทำบุญเลี้ยงพระ
ความเป็นมาของพิธีทำบุญเลี้ยงพระ
การเตรียมการในพิธีทำบุญ
พิธีสวดมนต์เย็น-ฉันเช้า
แนวทางการจัดพิธีทำบุญในงานต่าง ๆ
พิธีทำบุญคล้ายวันเกิด ทำบุญบ้าน ทำบุญอาคารสำนักงาน
การบูชาข้าวพระพุทธ
พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เปิดอาคารสำนักงาน

บทที่ ๕ การถวายทาน
พิธีถวายทาน
พิธีถวายสังฆทาน
การเตรียมการและลำดับพิธี
ข้อควรทราบ
คำถวายสังฆทาน

บทที่ ๖ พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
ความเป็นมาของพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
ระเบียบพิธีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
คำบูชา อาราธนา และถวายทาน

วิชาวินัย (เบญจศีลเบญจธรรม)

ศีลและวินัย
ความหมายของศีล
เจตนาเป็นศีล
วิรัต
ศีล ๕ เป็นหลักประกันที่ดีของสังคม
การรักษาศีลเป็นการปรับพื้นฐานของคน
วัตถุประสงค์ของการรักษาศีล
ผลของการรักษาศีล
การสมาทานศีล
อานิสงส์ของการสมาทานศีลก่อนให้ทาน
วิธีสมาทานและรักษาศีล
วิธีสมาทานศีล ๕
การรักษาศีล ๕ กับการถึงพระรัตนตรัย
พระรัตนตรัย
คุณของพระรัตนตรัย
การถึงพระรัตนตรัย
เบญจศีล สิกขาบทที่ ๑ เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ความมุ่งหมาย
เหตุผลของการรักษา
ข้อห้าม
หลักวินิจฉัย
โทษของการล่วงละเมิด
เรื่อง นายจุนทสูกริก
อานิสงส์ของการรักษา
เรื่อง นางสุชาดา

เบญจศีล สิกขาบทที่ ๒ เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์
ความมุ่งหมาย
เหตุผลของการรักษา
ข้อห้าม
หลักวินิจฉัย
โทษของการล่วงละเมิด
เรื่อง สีลวีมังสนะ
เรื่อง ดาบสโกหก
อานิสงส์ของการรักษา

เบญจศีล สิกขาบทที่ ๓ เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
ความมุ่งหมาย
เหตุผลของการรักษา
ข้อห้าม
หลักวินิจฉัย
โทษของการล่วงละเมิด
เรื่อง จูฬธนุคคหบัณฑิต
อานิสงส์ของการรักษา

เบญจศีล สิกขาบทที่ ๔ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ
ความมุ่งหมาย
เหตุผลของการรักษา
ข้อห้าม
หลักวินิจฉัย
โทษของการล่วงละเมิด
เรื่อง หมอตา
อานิสงส์ของการรักษา

เบญจศีล สิกขาบทที่ ๕ เจตนางดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
ความมุ่งหมาย
เหตุผลของการรักษา
ข้อห้าม
หลักวินิจฉัย
โทษของการล่วงละเมิด
เรื่อง พระราชาผู้ดื่มน้ำเมา
เรื่อง นักเลงสุรา
อานิสงส์ของการรักษา

เบญจธรรม
เบญจธรรม ข้อที่ ๑ เมตตากรุณา
วิธีปลูกเมตตากรุณา
อานิสงส์ของการเจริญเมตตา
เรื่อง สุวรรณสาม
เรื่อง ลิงใหญ่

เบญจธรรม ข้อที่ ๒ สัมมาอาชีวะ
เรื่อง จูฬกเศรษฐี

เบญจธรรม ข้อที่ ๓ กามสังวร
เบญจธรรม ข้อที่ ๔ สัจจะ
เรื่อง มหิสสาสกุมาร

เบญจธรรม ข้อที่ ๕ สติสัมปชัญญะ
เรื่อง ธัมมิกอุบาสก

~ ~ ~ o ~ ~ ~

แก้ไขโดย phng เมื่อ 01-09-2019 10:29