ประกาศสนามหลวงแผนกธรรม
เรื่อง การจัดสอบธรรมสนามหลวง |
|||
เพื่อให้การสอบธรรมสนามหลวง ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีระเบียบในการปฏิบัติงาน จึงออกประกาศฉบับนี้ไว้เพื่อให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ | |||
๑. |
| ||
๑.๑ | สนามสอบส่วนกลาง เจ้าสำนักเรียน หรือพระสังฆาธิการ หรือคฤหัสถ์ ที่เจ้าสำนักเรียนมอบให้เป็นประธาน | ||
๑.๒ | สนามสอบส่วนภูมิภาค เจ้าคณะจังหวัด หรือเจ้าคณะอำเภอ หรือพระสังฆาธิการ หรือคฤหัสถ์ ที่เจ้าคณะจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นประธาน | ||
๒. |
ประธานกรรมการประจำสนามสอบ | ||
๒.๑ | แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสอบธรรมสนามหลวง | ||
๒.๒ | แต่งตั้งให้ส่วนราชการ ประกอบด้วย สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหน่วยงานราชการอื่นๆ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการจัดสอบ | ||
๒.๓ | จัดประชุมคณะกรรมการจัดสอบและกรรมการผู้กำกับห้องสอบ ให้ทราบบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน | ||
๒.๔ | อำนวยการการจัดสอบธรรมสนามหลวงให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย | ||
๒.๕ | ร่วมกับคณะกรรมการจัดสอบพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องที่เกิดขึ้น | ||
๒.๖ | ปฏิบัติหน้าที่ประจำสนามสอบตลอดเวลาที่สอบ | ||
๒.๗ | หากไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่อยู่ประจำสนามสอบได้ ให้มอบรองประธาน หรือกรรมการรูปใดรูปหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทน | ||
๓. |
| ||
๓.๑ | พระภิกษุหรือคฤหัสถ์ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานกรรมการประจำสนามสอบ | ||
๓.๒ | พระภิกษุหรือคฤหัสถ์ ผู้มีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่สนองงาน และประสานงานกับฝ่ายต่างๆ | ||
๓.๓ | พระภิกษุหรือคฤหัสถ์ ผู้สามารถอยู่ปฏิบัติงานได้ตลอดเวลาที่จัดสอบ | ||
๔. | เลขานุการสนามสอบ | ||
๔.๑ | จัดหาคณะทำงานช่วยทำงานและรับผิดชอบการจัดสอบ | ||
๔.๒ | จัดทำเอกสารการสอบธรรมสนามหลวง เช่น บัญชีรับใบตอบ บัญชีเรียกชื่อ (ศ.๓,ศ,๗) เป็นต้น | ||
๔.๓ | จัดเตรียมอุปกรณ์ในการจัดสอบ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปริ๊นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสารหรือเครื่องพิมพ์สำเนาเอกสาร (ก๊อปปี้ปรินต์) โทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับรับข้อความรหัสเปิดข้อสอบ เครื่องโทรสาร (ถ้ามี) ซองบรรจุใบตอบ กระดาษตอบ กระดาษถ่ายเอกสาร (นักธรรม ขนาด A4 ธรรมศึกษาวิชากระทู้ขนาด A4 และวิชาธรรม พุทธ วินัย ขนาด F14) | ||
๔.๔ | ศึกษาวิธีการรับข้อสอบผ่านระบบอินเตอร์เน็ตให้เข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง | ||
๔.๕ | รักษารหัสการรับและเปิดข้อสอบต้องเป็นความลับเฉพาะบุคคล ผู้เกี่ยวข้อง ไม่สาธารณะแก่บุคคลทั่วไป | ||
๔.๖ | การถ่ายสำเนาข้อสอบ ต้องจัดทำต่อหน้าคณะกรรมการที่ประกอบด้วย ประธานกรรมการประจำสนามสอบหรือผู้แทน พระภิกษุผู้รับรหัสเปิดข้อสอบและเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด จัดถ่ายสำเนาให้เพียงพอเฉพาะผู้เข้าสอบและประธานห้ามแจกแก่สาธารณชนทั่วไป และไม่อนุญาตให้ถ่ายสำเนาข้อสอบที่ร้านค้าเอกชน หากมีความจำเป็นที่จะต้องถ่ายสำเนาข้อสอบที่ร้านค้าเอกชน ต้องมีคณะกรรมการดังกล่าวข้างต้นร่วมเป็นสักขีพยาน | ||
๔.๗ | การถ่ายสำเนาข้อสอบต้องถ่ายให้แล้วเสร็จอย่างช้าไม่เกิน ๑๕ นาที ของเวลาสอบที่กำหนด (นักธรรม ๑๓.๑๕ น. ธรรมศึกษา ภาคเช้า ๐๘.๔๕ น. ภาคบ่าย ๑๓.๑๕ น.) | ||
๔.๘ | แจกข้อสอบแต่ละชั้นและวิชาให้แก่กรรมการผู้กำกับห้องสอบ | ||
๔.๙ | ทำบัญชีสถิติจำนวนผู้ขอเข้าสอบ ขาดสอบ คงสอบ และสำรวจความถูกต้องของบัญชีรับใบตอบที่นักเรียนแก้ไขและแก้ไขรายชื่อที่ผิดในบัญชีที่เป็นรูปแบบคอมพิวเตอร์ให้มีความถูกต้องที่สุด แล้วบรรจุแยกซองโดยเฉพาะ | ||
๔.๑๐ | จัดทำรายงานการสอบธรรมสนามหลวงในสนามนั้น เสนอปัญหาที่พบ การแก้ไขปัญหา รายงานผู้ให้การอุปถัมภ์การสอบ รวบรวมเอกสารสำเนาคำสั่งของประธานกรรมการประจำสนามสอบ เป็นต้น | ||
๔.๑๑ | บอกสัญญาณเวลาการเริ่มและหมดเวลาสอบแก่กรรมการผู้กำกับห้องสอบ | ||
๔.๑๒ | ให้ทุกสนามสอบเริ่มทำการสอบ นักธรรม เวลา ๑๓.๐๐ น. ธรรมศึกษา ภาคเช้าเวลา ๐๘.๓๐ น. ภาคบ่ายเวลา ๑๓.๐๐ น.พร้อมกันทั่วราชอาณาจักร ถ้ามีเหตุขัดข้องไม่สามารถเปิดทำการสอบในเวลาที่กำหนดได้ให้เลื่อนระยะเวลาในการสอบได้ไม่เกิน ๑๕ นาทีหากเกินเวลาที่สนามหลวงแผนกธรรมกำหนดให้รายงานเหตุจำเป็นต่อเจ้าคณะจังหวัด และให้อยู่ในดุลยพินิจของเจ้าคณะจังหวัด | ||
๔.๑๓ | ร่วมลงนามกับประธานกรรมการประจำสนามสอบในการปิดซองบรรจุใบตอบ | ||
๔.๑๔ | เอกสารที่ต้องส่ง ส่วนภูมิภาค นักธรรมและธรรมศึกษาทุกชั้นจัดส่งที่เจ้าคณะจังหวัดแล้ว รวบรวมนำส่งเจ้าคณะภาค | ||
๔.๑๕ | ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ประธานกรรมการประจำสนามสอบมอบหมาย | ||
๕. | |||
๕.๑ | พระภิกษุหรือคฤหัสถ์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานกรรมการประจำสนามสอบ | ||
๕.๒ | พระภิกษุหรือคฤหัสถ์ผู้สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่สนองงานได้ | ||
๕.๓ | พระภิกษุหรือคฤหัสถ์ผู้สามารถอยู่ปฏิบัติงานได้ตลอดเวลาที่จัดสอบ | ||
๖. | กรรมการผู้กำกับห้องสอบ | ||
๖.๑ | ต้องเข้ารับฟังการปฐมนิเทศจากประธานกรรมการประจำสนามสอบ ตามวันและเวลาที่กำหนด | ||
๖.๒ | ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยความถูกต้องบริสุทธิ์ยุติธรรม | ||
๖.๓ | พระภิกษุนุ่งห่มผ้าให้เรียบร้อยตามสมณสารูป คฤหัสถ์แต่งกายสุภาพ | ||
๖.๔ | ต้องไปถึงสนามสอบก่อนนักเรียน ตรวจโต๊ะ เก้าอี้และห้องสอบให้เรียบร้อย | ||
๖.๕ | ในส่วนกลาง สำหรับธรรมศึกษา ต้องศึกษาวิธีฝนรหัสในกระดาษใบตอบ ให้เข้าใจและอธิบายให้นักเรียนฝนรหัสข้อมูลต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง | ||
๖.๖ | ก่อนแจกข้อสอบ ต้องตรวจดูชั้น-วิชา ข้อสอบแต่ละวันให้ถูกต้องก่อน จึงแจกแก่ผู้เข้าสอบ | ||
๖.๗ | ห้ามไม่ให้บุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในห้องสอบ | ||
๖.๘ | ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าสอบที่มาช้ากว่ากำหนด ๑๕ นาที เข้าห้องสอบ และไม่ให้ออกจากห้องสอบ นักธรรม ห้ามออกก่อน ๕๐ นาที ธรรมศึกษา ห้ามออกก่อน ๒๕ นาที | ||
๖.๙ | เฉพาะการสอบธรรมศึกษาภาคบ่าย ใช้กระดาษใบตอบใบเดียวทั้ง ๓ วิชา เมื่อนักเรียนทำข้อสอบเสร็จในแต่ละวิชา ให้แจกข้อสอบวิชาต่อไป ทั้งนี้ต้อง | ||
๖.๑๐ | เก็บใบตอบเรียงลำดับตามเลขที่สอบ ตรวจเอกสารทุกอย่างครบถ้วนแล้วบรรจุซองนำส่งเลขานุการสนามสอบ | ||
๖.๑๑ | ในกรณีมีผู้ขาดสอบ ให้ขีดเส้นสีแดงทับเลขที่สอบ | ||
๖.๑๒ | ถ้ามีการทุจริตให้เขียนหมายเหตุที่หัวกระดาษใบตอบ ลงชื่อกรรมการผู้กำกับห้องสอบไว้ด้วย | ||
๖.๑๓ | ถ้ามีปัญหาหรือขัดข้องประการใดๆ ต้องรายงานให้ประธานกรรมการประจำสนามสอบทราบทันที | ||
๗. | |||
๗.๑ | สนามสอบที่เป็นห้องโถง เช่น ศาลาการเปรียญ อาคารอเนกประสงค์ ซึ่งปกติจัดเป็นห้องสอบให้จัดโต๊ะเก้าอี้นั่งสอบมีช่องว่างระหว่างกันอย่างน้อย ๑ เมตร หรือตามมาตรฐานสากล | ||
๗.๒ | จัดสอบในห้องเรียน เช่น โรงเรียนพระปริยัติธรรม หรือโรงเรียน ของหน่วยงานอื่นๆ ควรตั้งโต๊ะประมาณ ๒๕-๓๐ โต๊ะ ให้ช่องว่างห่างกัน เช่น ข้อ ๗.๑ | ||
๗.๓ | อุปกรณ์อำนวยการสอบ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ไฟฟ้า ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ | ||
๗.๔ | สนามสอบที่เป็นห้องโถง ให้มีกรรมการผู้กำกับห้องสอบอยู่ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านขวาและด้านซ้าย ด้านละ ๑ รูป/คน หรือตามที่ประธานกรรมการประจำสนามสอบเห็นสมควร | ||
๗.๕ | สนามสอบที่จัดสอบในห้องเรียน ให้มีกรรมการผู้กำกับห้องสอบ ด้านหน้า ๑ รูป/คน ด้านหลัง ๑ รูป/คน | ||
๘. | |||
๘.๑ | พระภิกษุสามเณร นุ่งห่มผ้าให้เรียบร้อยตามสมณสารูป คฤหัสถ์แต่งกายสุภาพ | ||
๘.๒ | ไปถึงสนามสอบก่อนเวลา ๓๐ นาที | ||
๘.๓ | ตรวจดูสถานที่สอบ เลขที่สอบ เพื่อความเป็นระเบียบและรวดเร็ว | ||
๘.๔ | ก่อนเข้าห้องสอบต้องได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้กำกับห้องสอบ | ||
๘.๕ | เมื่อเข้าห้องสอบแล้ว นั่งประจำโต๊ะของตน ห้ามนำอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด หนังสือ ย่ามหรือสิ่งอื่นใด เข้าห้องสอบ นอกจากอุปกรณ์เครื่องเขียน | ||
๘.๖ | ห้ามขีดเขียนข้อความอื่นลงในใบตอบ นอกจากคำสั่งเกี่ยวกับคำตอบ | ||
๘.๗ | ห้ามสูบบุหรี่และกระทำการอื่นใดเป็นการรบกวนผู้สอบอื่น | ||
๘.๘ | การออกจากห้องสอบขณะทำการสอบยังไม่แล้วเสร็จ ต้องได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้กำกับห้องสอบ | ||
๘.๙ | เมื่อสอบเสร็จและส่งใบตอบแล้ว ให้ออกจากห้องสอบ | ||
๘.๑๐ | ผู้เข้าสอบทุกรูป/คน ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อแนะนำอื่นใดที่สั่งการโดยชอบของคณะกรรมการจัดสอบธรรมสนามหลวง | ||
ให้ใช้ประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ เป็นต้นไป | |||
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ (สมเด็จพระวันรัต) แม่กองธรรมสนามหลวง | |||
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง โทร. 0 2280 7682, 0 2629 0961, 0 2629 0962
หมายเลขภายใน 118, 119, 114, 115, 116 ฝ่ายธุรการ: 0 2629 4300, 0 2629 4301, 0 2629 4302, 0 2629 4303, 0 2629 4304 แฟกซ์: 0 2629 4302, 0 2629 4303 หมายเลขภายในฝ่ายต่างๆ ฝ่ายธุรการ 103, 104 | ฝ่ายวิชาการ 105 | ฝ่ายนโยบายและแผน 106 | ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ 108 | ฝ่ายปฏิคม 114 | ฝ่ายสารสนเทศ 115 | ฝ่ายเจ้าหน้าที่ทั่วไป 116 | ฝ่ายบริหารทั่วไป 117 | ฝ่ายสถิติ 118, 119
กรุณาติดต่อในเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๘.๐๐ น.
(เว้นวันอาทิตย์และวันพระปาฏิโมกข์) |